เที่ยวเต็มวันเส้นดอยสุเทพ ตะลุยอุทยานแห่งชาติพร้อมบรรยากาศฟินๆ

2187

เที่ยวเต็มวันเส้นดอยสุเทพ ตะลุยอุทยานแห่งชาติพร้อมบรรยายกาศฟินๆ 

หลังจากที่อัดอั้นกันมานานจากสถานณ์การโควิด-19 ทำให้หลายๆคนมีความรู้สึกอดอยาก อึดอัด อัดอั้น ร่างกายต้องการปะทะสายลมสายหมอกกันอย่างยาวนาน วันนี้แอดมินจะพาทุกท่านมาเที่ยวที่เรียกกัว่า เสริฟออเดิร์ฟรองท้องกันก่อน ด้วยการพาขึ้นไปที่จุดชมวิวดอยปุย เพื่อตามล่าหาน้องหมอก บอกเลยว่าสมกับที่รอคอยกันมาอย่างยาวนาน ด้วยอากาศที่กำลังเย็นตัวลง บวกกับสายฝนนิดๆ ทำให้เพิ่มความฟินเข้าไปอีกเป็น 10 เท่า และการเตรียมตัวครั้งนี้ก็ไม่มีอะไรมาก เช็คร่างกานให้พร้อมหน่อย เพราะอากาศข้างบนค่อนข้างเย็น (เท่าที่เช็คไว้อยู่ที่ 23 องศา) เสื้อกันฝน และอย่าลืมตรวจสอบสภาพรถของท่านด้วยนะ โดยเฉพาะเบรกและยาง ถ้าพร้อมแล้วเราไปกันเลย

เริ่มจากการไหว้พระขอพรกันก่อนที่อนุสาวรีย์ครูบาเจ้าศรีวิชัย อมตเถราจารย์ชื่อดังอันดับหนึ่งแห่งเมืองล้านนา แม้ว่าท่านจะละสังขารไปนานแล้ว แต่ความเชื่อและความศรัทธาในบารมีความศักดิ์สิทธิ์ ยังคงอยู่ในความรู้สึกรำลึกของพุทธศาสนิกชนและประชาชนทั่วไปไม่เสื่อมคลาย ตลอดชีวิตของท่านอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง จากชาวบ้านธรรมดาๆ คนหนึ่งที่เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ตั้งแต่เป็นสามเณรสู่พระภิกษุ เคร่งครัดในการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน สอนสั่งธรรมะแก่สาธุชนให้เป็นคนดี ละเว้นความชั่ว อันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาโดยแท้ตลอดระยะเวลา 40 ปี ในร่มกาสาวพัสตร์ ไม่เคยได้รับสมณศักดิ์ใดๆ ไม่ได้เป็นพระอุปัชฌาย์ ไม่มีพัดยศ หรือตำแหน่งทางคณะสงฆ์ใดๆ ทั้งต้องฟันฝ่าอุปสรรคและพบวิบากกรรมนานัปการ แต่ก็ผ่านพ้นมลทินได้ทุกครั้ง ด้วยปณิธานและความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้า ปฏิบัติศาสนกิจทุกอย่างด้วยความบริสุทธิ์ เพื่อจรรโลงพระบวรพุทธศาสนาให้ยืนยง ท่านเป็นผู้พัฒนาวัดวาอารามมากมายของหลายๆ จังหวัดทางภาคเหนือ ที่รกร้างและทรุดโทรม สู่ความเจริญรุ่งเรืองและที่ทำให้ท่านเป็นที่รู้จักและอยู่ในความทรงจำของชาวล้านนา คือ การเป็นผู้นำในการสร้างทางขึ้นสู่วัดพระธาตุดอยสุเทพ ซึ่งใช้เวลาสร้างเพียง 5 เดือนเศษ โดยไม่ใช้งบประมาณของรัฐเลย จนได้รับการยกย่องให้เป็น “ตนนักบุญแห่งลานนาไทย” หรือ นักบุญแห่งล้านนาไทย” และด้วยแรงศรัทธาของสาธุชนชาวล้านนา ‘อนุสาวรีย์ครูบาเจ้าศรีวิชัย’ เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งการรำลึกถึงคุณูปการอันยิ่งใหญ่

จากนั้นเดินตรงไป10เมตรก็จะเจอกับน้ำตกห้วยแก้ว เป็นน้ำตกที่อยู่ใกล้เมืองเชียงใหม่มากที่สุด ตัวน้ำตกมีขนาดเล็ก สูงประมาณ 10 เมตร มีน้ำไหลตลอดปี รอบๆบริเวณ สวยงามไปด้วยทิวทัศน์และความร่มรื่นของพันธุ์ไม้นานาชนิด นับว่าเป็นสถานที่พักผ่อนของชาวเชียงใหม่ที่เป็นที่นิยม โดยสามารถพาครอบครัว หรือเพื่อนฝูง ไปตั้งวงกินอาหาร หรือเครื่องดื่ม บรรยากาศดี แต่ต้องใช้ความระมัดระวังในการเดิน เพราะลำธารเป็นลักษณะน้ำไหลผ่านโขดหิน ซึ่งมีความลื่นพอสมควร และน้ำตกห้วยแก้วอยู่ติดกับอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัยซึ่งในแต่ละวันจะมีผู้คนหลั่งไหลมาสักการบูชา ดังนั้นผู้คนจึงแวะเวียนเข้ามาเที่ยวชมน้ำตกห้วยแก้วด้วยเพราะอยู่ติดกัน ภายในบริเวณน้ำตกห้วยแก้ว ยังถือเป็น สวนรุกขชาติน้ำตกห้วยแก้ว ที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ เป็นสถานที่ที่มีความร่มรื่น เพราะยังมีความเป็นธรรมชาติที่คงความอุดมสมบรูณ์ ที่อยู่ใจกลางเมืองใหญ่ บริเวณทางเข้าตรงหน้าป้ายน้ำตกห้วยแก้ว ยังมีบริการร้านค้า ร้านอาหารเครื่องดื่ม จากชาวบ้านที่อยู่ในละแวกนั้น อีกทั้งมีสถานที่จอดรถไว้คอยบริการด้านหน้าทางเข้าอีกด้วย หรือหากกลัวรถหายก็มีสถานที่ฝากรถและมีผู้ดูแลให้เป็นอย่างดี

หลังจากออกมาจากน้ำตกห้วยแก้วแล้ว เราก็เริ่มเดินทางขึ้นไปบนถนนเส้นดอยสุเทพ ก็จะเจอกับน้ําตกมณฑาธาร น้ำตกแห่งนี้เดิมชาวบ้านเรียกว่า “น้ำตกสันป่ายาง” มีทั้งหมด 3 ชั้น มีต้นกำเนิดมาจากยอดดอยปุย ซึ่ง ไหลผ่านลำห้วยคอกม้ามายังหน้าผาสูงราว 30 เมตร ลงสู่แอ่งน้ำเบื้องล่างพร้อมละอองน้ำฟุ้งกระจายไป ทั่วบริเวณ สายน้ำนี้ยังไหลต่อไปยังผาเงิบ วังบัวบาน และน้ำตกห้วยแก้ว ก่อนที่จะไหลลงสู่แม่น้ำปิงต่อไป ปัจจุบันทางอุทยานแห่งชาติเปิดให้เที่ยวชมแค่ 2 ชั้น ซึ่งนั่นเพียงพอและคุ้มค่าแก่การเที่ยวชม ชั้นหนึ่งดูพลิ้วไหวสวยงาม สายน้ำไหลลดหลั่นลงมาตามหน้าผาหลายชั้น ส่วนชั้นที่สองมีแอ่งน้ำใหญ่ไม่ลึกมากเหมาะแก่การเล่นน้ำสุดๆ ที่ น้ำตกมณฑาธาร มีบ้านพักและลานกางเต็นท์บริการด้วยนะ แต่แนะนำเฉพาะในช่วงเทศกาลหน้าหนาวจะดีที่สุด เพราะในช่วงอื่นคงโหวงเหวงเกินไป ข้างทางจะพบไม้ยืนต้นมณฑา ดอกสีขาว ใบใหญ่ สีเขียวสด สามารถเดินป่าศึกษาธรรมชาติ ดูนก และเล่นน้ำตก น้ำตกมณฑาธารหรือน้ำตกสันป่ายาง เป็นน้ำตกที่สวยงามแห่งหนึ่งในเขตอุทยานฯ สูงกว่าระดับน้ำทะเล 730 เมตร มีทั้งหมด 9 ชั้น โดยมีน้ำตกไทรย้อย เป็นน้ำตกชั้นสูงสุด ที่ไหลมาจากห้วยคอกม้า น้ำตกมณฑาธาร

ขับขึ้นไปอีกนิดเราก็จะเจอกับวัดสกิทาคาหรือวัดผาลาด จากข้อมูลสำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ วัดผาลาด ไม่ปรากฏหลักฐานชื่อวัดผาลาดในเอกสารโบราณ แต่มีปรากฏชื่อวัดผาลาดวัดผาลาดเดิมสร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้ากือนา เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการเสี่ยงทายเพื่อหาสถานที่สำหรับประดิษฐานพระบรมธาตุ ตามตำนานสร้างพระธาตุดอยสุเทพ ช้างที่อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุนั้น ได้เดินทางมุ่งตรงไปทางดอยอ้อยช้าง ทิศตะวันตกของเมือง พระเจ้ากือนาพร้อมทั้งพญาลิไทยจากเมืองสุโขทัย และเหล่าเสนาอำมาตย์ ก็แห่ฆ้อง กลอง ตามหลังช้างไป เมื่อไปถึงยอดดอยแห่งหนึ่งช้างก็หยุดและย่อเข่าลง พระเจ้ากือนาพร้อมทั้งบริวารต่างเห็นพ้องกันว่าควรประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ณ ที่นั่น
ขณะที่ทุกคนกำลังสนทนากันอยู่นั้น ช้างก็ลุกขึ้นเดิน และหยุดย่อเข่าลงอีก (ภาษาเหนือเรียกอาการของช้างว่า ยอบลง) ช้างทำกิริยาอย่างนี้ 3 ครั้ง แล้วเดินต่อไปถึงผาลาดหรือห้วยผีบ้า ข้างธารน้ำตกมีที่ราบเป็นบริเวณกว้าง จึงหยุดพักอยู่ชั่วระยะหนึ่ง แล้วเดินทางต่อไปจนกระทั่งถึงดอยอ้อยช้าง และอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ญ สถานที่นั้น คือ วัดพระธาตุดอยสุเทพในปัจจุบัน วัดผาลาดเป็นวัดป่า 1ใน 3 วัดที่ตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ – ปุย วัดแห่งนี้มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 500 ปี เคยถูกปล่อยให้รกร้างว่างเปล่าไป แต่ก็ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ ฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ ให้มีสถานภาพเป็นวัดและสถานที่ปฏิบัติธรรม ส่วนสาเหตุที่ตั้งชื่อว่าวัดผาลาดนั้น ผู้เฒ่า ผู้แก่บางท่านเล่าว่า เดิมเรียกว่า ผะเลิด เพราะคนที่ดินตามช้างมาตามลำธารน้ำตก แล้วเกิดลื่นหกล้มกันหลายคน บ้างก็ว่าช้างก็ลื่นเหมือนกัน จึงให้ชื่อว่าวัดะเลิด ต่อมาเรียกว่าวัดผาลาด ตามชื่อน้ำตก
โบราณสถานที่สำคัญภายในวัดก็จะมี วิหาร ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยครูบาศรีวิชัย สร้างทางขึ้นดอยสุเทพ โดยเลี่ยงจากฐานวิหารเดิมมาทางทิศใต้ เพื่อไม่ให้ฐานซ้อนที่กัน โดยมีช่างเป็นชาวพม่า ซึ่งล้วนเป็นลูกศิษย์ของครูบาเทิ้ม วัดแสนฝาง และครูบาสิทธิ วัดท่าสะต๋อย ด้านหน้าบันวิหารแกะสลักเป็นรูปนกยูง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพม่า ส่วนด้านหลังแกะเป็นรูปกระต่าย อันเป็นปีเกิดของครูบาเทิ้ม ปัจจุบันป้านลม ช่อฟ้าหักลงมาเกือบทั้งหมด หลังคาก็ผุพังชำรุดหลายแห่ง เมื่อฝนตกจะเกิดการรั่วซึมเกือบทั้งหลัง เจดีย์ เป็นศิลปะสมัยครูบาศรีวิชัย แต่สร้างโดยช่างชาวพม่า กลุ่มเดียวกับที่สร้างวิหาร ลักษณะของเจดีย์จึงออกมาเป็นศิลปะแบบพม่า สันนิษฐานว่ารูปทรงน่าจะคล้ายกันกับวัดมหาวัน ถนนท่าแพ เชียงใหม่ แต่สภาพที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบันถูกขุดเจาะเอาของสำคัญที่บรรจุอยู่ภายในเจดีย์ไปตั้งแต่สมัยสงครามโลก และสมัยหลังสงคราม จนเป็นเหตุให้ยอดเจดีย์พังลงมา นอกจากจะมาเที่ยวชมโบราณสถานในวัดผาลาดแล้ว ทางวัดยังจัดเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม สำหรับพุทธศานิกชนและบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจในการฝึกนั่งสมาธิ และปฏิบัติธรรม วัดผาลาดเป็นวัดเล็ก ๆ ที่มีความสงบและเป็นวัดที่เหมาะสมอย่างยิ่งในการปฏิบัติธรรมเพื่อความสงบของจิตใจและก็ยังเป็นวัดที่เก่าแก่มีประวัติความเป็นมายาวนานอีกทั้งยังมีความเกี่ยวข้องกับวัดพระธาตุดอยสุเทพที่เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของเมืองเชียงใหม่

และแล้วจุดสำคัญของ EP นี้ก็มาถึง วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร เป็นหนึ่งในวัดที่มีความสำคัญมากที่สุดของจังหวัดเชียงใหม่ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1927 ในสมัยพญากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งอาณาจักรล้านนา ราชวงศ์มังราย พระองค์ทรงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุองค์ใหญ่ ที่ได้ทรงเก็บไว้สักการบูชาส่วนพระองค์ถึง 13 ปี มาบรรจุไว้ที่นี่ ด้วยการทรงอธิษฐานเสี่ยงช้างมงคลเพื่อเสี่ยงทายสถานที่ประดิษฐาน พอช้างมงคลเดินมาถึงยอดดอยสุเทพ มันก็ร้องสามครั้ง พร้อมกับทำประทักษิณสามรอบ แล้วล้มลง พระองค์จึงโปรดเกล้าฯให้ขุดดินลึก 8 ศอก กว้าง 6 วา 3 ศอก หาแท่นหินใหญ่ 6 แท่น มาวางเป็นรูปหีบใหญ่ในหลุม แล้วอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุลงประดิษฐานไว้ จากนั้นถมด้วยหิน แล้วก่อพระเจดีย์สูง 5 วา ครอบบนนั้น ด้วยเหตุนี้จึงห้ามพุทธศาสนิกชนที่ไปนมัสการสวมรองเท้าใน บริเวณพระธาตุ และมิให้สตรีเข้าไปบริเวณนั้น ในปีพ.ศ. 2081 สมัยพระเมืองเกษเกล้า กษัตริย์องค์ที่ 12 ได้โปรดฯให้เสริมพระเจดีย์ให้สูงกว่าเดิม เป็นกว้าง 6 วา สูง 11 ศอก พร้อมทั้งให้ช่างนำทองคำทำเป็นรูปดอกบัวทองใส่บนยอดเจดีย์ และต่อมาเจ้าท้าวทรายคำ ราชโอรสได้ทรงให้ตีทองคำเป็นแผ่นติดที่พระบรมธาตุ ในสมัยก่อน การขึ้นไปนมัสการพระธาตุดอยสุเทพนั้น เป็นเรื่องที่ยากลำบากเหลือเกิน เพราะไม่มีถนนสะดวกสบายเหมือนปัจจุบัน ทางเดินก็แคบๆ และ ไม่ราบเรียบ ต้องผ่านป่าเขาลำเนาไพร และปีนเขาต้องใช้เวลายาวนานถึง 5ชั่วโมงกว่า จนมีคำกล่าวขานกันทั่วไปในสมัยนั้นว่า ถ้าไม่มีพลังบุญและศรัทธาเลื่อมใสจริงๆ ก็จะไม่มีโอกาสได้กราบไหว้พระธาตุดอยสุเทพ จนกระทั่งถึงสมัยครูบาศรีวิชัย ได้สร้างถนนยาวตั้งแต่ช่วงสวนสัตว์เชียงใหม่ผ่านวัดพระธาตุดอยสุเทพและไปสิ้นสุดที่พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ โดยถนนที่สร้างนี้มีความยาวถึง 11.53 กิโลเมตร บันใดนาค เป็นสัญลักษณ์สำคัญแห่งหนึ่งของวัดพระธาตุดอยสุเทพ มีความงดงามทางด้านศิลปะที่ทรงคุณค่า และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ นักท่องเที่ยวผู้มานมัสการพระบรมธาตุ มักจะต้องถ่ายภาพเป็นที่ระลึกที่ด้านของบันใดนาค ซึ่งมีทัศนียภาพงดงามและมีเสน่ห์เมื่อมองขึ้นไปตามขั้นใด นักท่องเที่ยวที่มาเยือนครั้งแรก มักจะเดิน ขึ้นหรือเดินลงบันใดนาคเสมอ แต่ส่วนใหญ่มักจะเดินลง ส่วนตอนขึ้นนั้นมักจะขึ้นทางลิฟท์หรือรถรางไฟฟ้า วัดแห่งนี้ถือเป็นปูชนียสถานคู่เมืองเชียงใหม่ ถ้าหากใครที่มาเยือนเมืองเชียงใหม่แล้วไม่ได้ขึ้นไปนมัสการถือเสมือนว่ายังมาไม่ถึงเชียงใหม่ ในวันวิสาขบูชาของทุกปี จะมีประเพณีเดินขึ้นดอยเวียนเทียน และสรงน้ำพระธาตุ นักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการรถสองแถวที่บริการอยู่บริเวณเชิงดอยสุเทพตั้งแต่เวลาประมาณ 05.30–20.00 น. เป็นประจำทุกวัน

และสถานที่ต่อไปรอติดตามใน Ep: 2 นะทุกคนนนนน ฝากด้วยภาพเก็บตกน้องหมาที่น่ารักด้วยนะ