“กรมสุขภาพจิต” เตือนอย่าส่งผ่านความเครียดไปลงกับเด็กในช่วงโควิด 19 ระบาด

1020
“กรมสุขภาพจิต” เตือนอย่าส่งผ่านความเครียดไปลงกับเด็กในช่วงโควิด 19 ระบาด

“กรมสุขภาพจิต” เตือนอย่าส่งผ่านความเครียดไปลงกับเด็กในช่วงโควิด 19 ระบาด

พญ.มธุรดา สุวรรณโพธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กล่าวถึงผลกระทบของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด19 ที่มีต่อเด็กและเยาวชน ว่า ผลการสำรวจขององค์การยูนิเซฟและสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทยพบ เด็กมีความกังวลและรับรู้ถึงสถานะทางการเงินของพ่อแม่ในช่วงการระบาดของโควิด19 โดยเด็กและเยาวชนส่วนใหญ่รับรู้ถึงความเครียดและความกังวลของพ่อแม่ในเรื่องการหารายได้ช่วงโควิด19 ระบาด

?? ช่วงอายุ 20-24 ปี จะกังวลมากที่สุดถึงร้อยละ 87

?? ช่วงอายุ 15-19 ปี ร้อยละ 82

?? ช่วงอายุ 11-14 ปี พบร้อยละ 69

ที่น่าสนใจคือเด็กอายุต่ำกว่าอายุ 10 ปี ยังพบว่ามีความกังวลถึง ร้อยละ 76 นอกจากนี้ จากการสำรวจพบปัญหาเรื่องคนใกล้ชิดหรือคนในครอบครัวทำร้ายเด็กมากขึ้น สาเหตุสำคัญมาจากความเครียด

ดังนั้น พ่อแม่ที่เกิดความเครียดควรจะต้องหาทางระบายและจัดการความเครียดให้ได้  อย่าส่งผ่านความเครียดด้วยการลงไม้ลงมือกับเด็ก เพราะยิ่งสร้างผลกระทบต่อเด็กเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งพลังชุมชนต้องช่วยกันดูแลเด็กในช่วงที่พ่อแม่ผู้ปกครองจะต้องกลับไปทำงานเพื่อหารายได้อีกครั้ง และช่วยกันป้องกันภัยจากสังคมออนไลน์ที่เด็กอาจจะถูกล่อลวง ถูกคุกคามทางเพศได้ง่าย  หากปล่อยให้เด็กใช้งานโดยขาดการติดตามดูแลจากผู้ใหญ่

ผู้ปกครองหรือพ่อแม่ ต้องตรวจสอบหากพบเนื้อหาที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อเด็กควรระงับการใช้งานและอธิบายให้เด็กได้เข้าใจถึงอันตรายที่จะตามมาเพื่อสร้างความปลอดภัยให้ได้มากที่สุด

เรื่องที่น่าเป็นห่วงอีกเรื่องในช่วงโควิด 19 คือ ปัญหาจากการใช้สมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้น โดยผลการสำรวจนักเรียนชั้นมัธยมต้นถึงมัธยมปลายในประเทศญี่ปุ่น ในช่วงที่เด็กหยุดเรียนนานกว่าปกติที่ใช้เวลาอยู่กับอินเตอร์เน็ตและเกมออนไลน์ จำนวน 8,464 คน พบว่า เด็กมัธยมศึกษาตอนปลายพบใช้เวลาอยู่กับสมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้นร้อยละ 71 ส่วนเด็กมัธยมศึกษาตอนต้นพบเพิ่มขึ้นร้อยละ 72  ส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 80 ใช้ดูคลิปวิดีโอบน YouTube ร้อยละ 40-50 ใช้แอพพลิเคชั่นในการเล่นเกมออนไลน์

จากข้อมูลดังกล่าว กรมสุขภาพจิตมีความห่วงใย และเพื่อป้องกันปัญหาเด็กติดเกมออนไลน์  ได้มีข้อแนะนำในการเล่นเกมให้เกิดความเหมาะสม กำหนดเป็น 3 สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ

✅✅ สิ่งที่ควรทำ

?? กำหนดเวลาเล่นเกมไม่เกิน 2 ชั่วโมงต่อวัน

?? เลือกประเภทเกมที่ไม่รุนแรง

?? พ่อแม่ผู้ปกครองต้องมีส่วนรับรู้ในการเล่นเกม หรือร่วมเล่นเกมบ้างเพื่อสร้างการมีส่วนร่วม

❌❌ ส่วนสิ่งไม่ควรทำ

?? ไม่ทำตัวเป็นแบบอย่างที่ไม่ดี เช่น เล่นเกมมากเกินไป เล่นเกมที่รุนแรง

??  เล่นผิดเวลา เช่น เล่นเกมขณะรับประทานอาหาร

?? เล่นผิดที่ เช่น เล่นในห้องนอนขณะเวลาพักผ่อน สิ่งเหล่านี้เป็นการปรับตัวสู่วิถีชีวิตใหม่เมื่อต้องใช้เวลาอยู่ร่วมกันในครอบครัวจึงอยากให้เรียนรู้พฤติกรรมของเด็กๆ ไปพร้อมกัน

Cr. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข