มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น พิธีประสาทปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาประจำปีการศึกษา 2566

77

มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น พิธีประสาทปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาประจำปีการศึกษา 2566

กราบเรียน ท่านประธาน ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี
กระผม – ดร. กิตติพัฒน์ สุวรรณชิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัย คณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร มหาบัณฑิตและบัณฑิตทุกท่านรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ท่านได้กรุณาสละเวลามาเป็นประธานในพิธีประสาทปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาประจำปีการศึกษา 2566 ในวันนี้

d0wGLvk.jpegd0wJlfk.jpegd0wGM0V.jpegในโอกาสนี้ ขอรายงานกิจการของมหาวิทยาลัยในปีที่ผ่านมาพอสังเขป ดังนี้ 

มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเริ่มเปิดดำเนินการในปี พ.ศ. 2543 โดยได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อมจากสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ  เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา  กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จพระดำเนินเป็นประธานในพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544  ตลอดเวลาที่ผ่านมา  มหาวิทยาลัยยึดมั่นในปรัชญาการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้ใฝ่ใจศึกษาทั้งด้านวิชาการ  วิชาชีพ และวิชาชีวิตอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต  พร้อมด้วยจิตวิญญาณของผู้ประกอบการ  ปัจจุบันเปิดสอนระดับปริญญาตรี จำนวน 7 หลักสูตร ระดับปริญญาโท จำนวน 3 หลักสูตร ประกาศนียบัตรเพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ดำเนินการโดยศูนย์พัฒนาการบริการด้านสุขภาพแบบองค์รวม จำนวน 3 หลักสูตร  และในปีการศึกษา 2566 ยังได้รับอนุมัติจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ให้เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรภายใต้โครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ จำนวน 3 หลักสูตร  และหลักสูตรระยะสั้น ภายใต้โครงการยกระดับสมรรถนะกำลังคนวัยแรงงานเพื่ออนาคต จำนวน 2 หลักสูตร

ด้านการผลิตบัณฑิต
มหาวิทยาลัยกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาผู้เรียนให้มีความคิดสร้างสรรค์ เรียนรู้จากประสบการณ์จริงผ่านโปรแกรมสหวิทยาการ ภายใต้ระบบนิเวศของสังคมแห่งการประกอบการการสนับสนุนเครื่องมือดิจิทัล รวมทั้งเครือข่ายความร่วมมือกับสถานประกอบการ  สถาบันวิจัยและภาคส่วนต่างๆ โดยที่ผ่านมีการดำเนินการ อาทิ
1. ร่วมมือกับสมาพันธ์ธุรกิจ SME ไทย จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งเครือข่ายธุรกิจจังหวัดเชียงใหม่ ออกแบบหลักสูตรและจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการร่วมกับการทำงาน ภายใต้การสนับสนุนจากคณะกรรมการการอุดมศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
2. บูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้ในหลักสูตรการสื่อสารการตลาดดิจิทัล  หลักสูตรเทคโนโลยีดิจิทัล และหลักสูตรวิศวกรรมโลจิสติกส์เข้ากับกระบวนการวิเคราะห์ต้นทุนและพัฒนาช่องทางการตลาดสินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่น ภายใต้โครงการวิจัย “การพัฒนานวัตกรรมชุมชนสำหรับจัดการทุนทางวัฒนธรรมอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากและสำนึกท้องถิ่นในยุคสังคมวิถีใหม่”
3. บ่มเพาะทักษะการประกอบการโดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนทำงานตามโจทย์ของผู้ประกอบการ ภายใต้การดำเนินงานของศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น ในด้านความร่วมมือทางวิชาการกับต่างประเทศ  มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีการลงนามในข้อตกลงความร่วมมือกับองค์กรการศึกษาและองค์กรธุรกิจหลายแห่งในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศญี่ปุ่น

d0wGPma.jpeg
d0wGG9e.jpeg
ด้านการวิจัย
มหาวิทยาลัยมุ่งพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยแก่อาจารย์และบุคลากร สร้างความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ เพื่อผลิตผลงานวิจัยที่ตอบโจทย์ความต้องการของทุกภาคส่วนในพื้นที่ ตลอดจนเพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะผ่านการมีส่วนร่วมในโครงการวิจัยต่างๆ  โดยในปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ผ่านหน่วยบริหารและจัดการทุน อาทิ

1. หน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ ได้แก่
– โครงการวิจัย “การขับเคลื่อนนวัตกรรมการศึกษาที่สอดคล้องบริบทเชิงพื้นที่อย่างมีส่วนร่วม และการพัฒนาระบบแพลตฟอร์มกลางองค์ความรู้แบบสาธารณะเพื่อสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้ในจังหวัดเชียงใหม่” จำนวน หนึ่งล้านหนึ่งแสนแปดหมื่นเก้าพันสองร้อยสามสิบบาท
– โครงการวิจัย “การสร้างห่วงโซ่คุณค่าข้ามแดน เขตเศรษฐกิจเชียงของ กลุ่มธุรกิจ New S Curve” จำนวน หนึ่งล้านหนึ่งหมื่นบาท
– โครงการวิจัย “การพัฒนานวัตกรรมชุมชนสำหรับจัดการทุนทางวัฒนธรรม อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานราก และสำนึกท้องถิ่นในยุคสังคมวิถีใหม่” จำนวน สองล้านบาท

2. สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้แก่
– โครงการวิจัย “การพัฒนาสินค้าเกษตรผลิตภัณฑ์ลำไยและผักปลอดสาร: กรณีศึกษาเกษตรในเมือง บ้านป่าเก็ตถี่ ตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการประกอบการและการตลาด” จำนวน สี่แสนบาท
– โครงการวิจัย“การจัดการความรู้การวิจัยและถ่ายทอดกระบวนการพัฒนาผู้ต้องขังให้เป็นครูสอนทอผ้าไหมเพื่อความต่อเนื่องในการฝึกวิชาชีพทอผ้าไหมในเรือนจำจังหวัดลำพูน”  จำนวน ห้าแสนห้าหมื่นบาท นอกจากนี้ ยังมีโครงการวิจัยที่มหาวิทยาลัยให้ทุนสนับสนุน เช่น โครงการวิจัย “การประเมินผลโครงการการพัฒนาสมรรถนะแห่งอนาคตร่วมกับสถานประกอบการ”  จำนวนหนึ่งแสนเก้าหมื่นสองพันบาท

ด้านการบริการวิชาการแก่ชุมชน
มหาวิทยาลัยผลักดันให้เกิดการระดมองค์ความรู้และพัฒนานวัตกรรมด้านการประกอบการและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องเพื่อถ่ายทอดสู่องค์กรและชุมชนเป้าหมายผ่านเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชนและภาคส่วนต่างๆ โดยที่ผ่านมามีการดำเนินการ อาทิ
1. ร่วมมือกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่ทดสอบตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ผ่านช่องทาง Cross Border Logistic (Online to Offline – Cross-Border E-Commerce) ภายใต้โครงการ “การสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานรากด้วยเศรษฐกิจมูลค่าสูง ภาคเหนือ” เพื่อสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการ SME และวิสาหกิจชุมชนภาคเหนือเข้าถึงตลาดออนไลน์ผ่านช่องทาง E-Commerce ของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
2. ร่วมมือกับการประปาส่วนภูมิภาคจัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “หลักสูตรการจัดทำแผนการตลาดเพื่อสร้างทัศนคติและความเชื่อมั่นของลูกค้าที่มีต่อคุณภาพการให้บริการและคุณภาพผลิตภัณฑ์” สำหรับผู้บริหารและพนักงานในสังกัดการประปาส่วนภูมิภาคทุกเขตทั่วประเทศ
3. ร่วมมือกับสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดเชียงใหม่ และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่ พัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการออกแบบและบริหารระบบจัดการสื่อการเรียนรู้แบบดิจิทัลที่สอดคล้องกับบริบทเชิงพื้นที่ ภายใต้ชุดโครงการวิจัย “การขับเคลื่อนนวัตกรรมการศึกษาที่สอดคล้องบริบทเชิงพื้นที่อย่างมีส่วนร่วม และการพัฒนาระบบแพลตฟอร์มกลางองค์ความรู้แบบสาธารณะเพื่อสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้ในจังหวัดเชียงใหม่”

ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
มหาวิทยาลัยทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมโดยบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอน
การวิจัยและการบริการวิชาการอย่างต่อเนื่อง โดยที่ผ่านมามีการดำเนินการ อาทิ
1. การผลิตสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้อาหารพื้นเมือง “ถั่วเน่าแค๊บ-ถั่วเน่าเม๊อะ” โดยผู้เรียนในหลักสูตรการสื่อสารการตลาดดิจิทัล ซึ่งต่อยอดจากการสำรวจทุนวัฒนธรรมในพื้นที่ โครงการวิจัย “การพัฒนานวัตกรรมชุมชนสำหรับจัดการทุนทางวัฒนธรรม อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากและสำนึกท้องถิ่นในยุคสังคมวิถีใหม่”
2. หลักสูตรธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ และกองบรรณาธิการวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น ร่วมกับภาคีเครือข่ายสถาบันการศึกษาในภาคเหนือ ดำเนินงานทางวิชาการด้านวัฒนธรรมล้านนา  อาทิ การจัดทำวารสารฉบับพิเศษ  และการจัดเสวนาทางวิชาการ ภายใต้กิจกรรม “150 ปี วันประสูติ เจ้าดารารัศมี” จัดโดยจังหวัดเชียงใหม่ มูลนิธินวราชดำริอนุรักษ์ฝ่ายเหนือ และเทศบาลนครเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2566

บัดนี้ ได้เวลาอันเป็นมงคลฤกษ์แล้ว ขอกราบเรียนเชิญท่านประธานในพิธีฯ โปรดมอบปริญญาบัตรแก่ มหาบัณฑิตและบัณฑิตตามรายนามที่คณบดีแต่ละคณะจะได้รายงานตามลำดับ จากนั้นโปรดให้โอวาทแก่ มหาบัณฑิตและบัณฑิตเพื่อเป็นสิริมงคลและนำไปเป็นแนวทางในการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพให้เจริญก้าวหน้า สืบไป

d0wGasP.jpeg

d0wGJjl.jpeg
d0wGyUE.jpeg

d0wJWcQ.jpeg
d0wJd2S.jpeg
d0wJ0yn.jpeg
d0wJYlW.jpeg
d0wJSTg.jpeg
d0wJzv2.jpeg
d0wJNB1.jpeg
d0wJBUy.jpeg
d0wJf8D.jpeg
d0wJk79.jpeg
d0wJ3cJ.jpeg
d0wJ92b.jpeg
d0wJTFf.jpeg
d0wJwTa.jpeg

d0wGTbk.jpeg
d0wG14E.jpeg
d0wGtav.jpeg
d0wGKQN.jpeg
d0wGgdQ.jpeg
d0wGRPn.jpeg
d0wGiZS.jpeg
d0wGxmg.jpeg
d0wGU9W.jpeg
d0wGqb2.jpeg
d0wG5p1.jpeg
d0wGO4y.jpeg
d0wGbQD.jpeg
d0wGodJ.jpeg
d0wGjr9.jpeg
d0wGDZb.jpeg
d0wGAsf.jpeg
d0wG29q.jpegd0wGCjz.jpeg
d0wGup8.jpeg
d0wGnNR.jpegd0wJEtt.jpeg
d0wJqFP.jpeg
d0wJOle.jpegd0wGF8N.jpeg