“ไม่ยอมเป่าแอลกอฮอล์” ถือว่าเมาแล้วขับ คุก 1 ปี ปรับ 5,000-20,000 บ. หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลสั่งพักใช้-เพิกถอนใบขับขี่

29

29 ธ.ค. 66 – กระทรวงยุติธรรม เผยแพร่ข้อกฎหมายเกี่ยวกับการเมาแล้วขับ ระบุว่า เป่าแอลกอฮอล์เท่าไร ถึงมีโทษเมาแล้วขับ ตามกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก ถ้ามีปริมาณแอลกอฮอล์ ในเลือด เกิน 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ใน 4 กรณี ดังต่อไปนี้ ถือว่าเมาแล้วขับ คือ
1) ผู้ขับขี่ซึ่งมีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
2) ผู้ขับขี่ซึ่งได้รับใบอนุญาตขับรถชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ เช่น มือใหม่ใบอนุญาตขับขี่ยังไม่ถึง 2 ปี
3) ผู้ขับขี่ซึ่งมีใบอนุญาตขับขี่สําหรับรถประเภทอื่นที่ใช้แทนกันไม่ได้
4) ผู้ขับขี่ซึ่งไม่มีใบอนุญาตขับขี่ หรืออยู่ระหว่างถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ ถ้ามีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด เกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ในกรณีที่บุคคลที่มีใบขับขี่ตลอดชีพหรือใบขับขี่ 5 ปี และมีอายุเกิน 20 ปี ถือว่าเมาแล้วขับ

หากเป่าแอลกอฮอล์แล้วพบว่า ปริมาณเกินกําหนดทั้ง 2 กรณี จะถือว่าเมาแล้วขับ ต้องระวางโทษจําคุกไม่ เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000-20,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกําหนดไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 และที่ แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 160 ตรี

ในกรณีที่ไม่เป่าแอลกอฮอล์ในทางกฎหมายจะถือว่าเมาแล้วขับ ต้องระวางโทษ จําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับ ตั้งแต่ 5,000-20,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และถูกให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือ เพิกถอนใบอนุญาตขับรถ

สําหรับโทษของการเมาแล้วขับ ไม่ว่าจะเป็นกรณีเป่าแอลกอฮอล์แล้วเกินกําหนดหรือเกิดอุบัติเหตุจนทําให้ ผู้อื่นบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 160 ตรี กําหนดให้ผู้ขับขี่ที่ขับรถในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น ดังนี้
– เมาแล้วขับ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000-20,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และให้ ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกําหนด ไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่
– เมาแล้วขับเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ผู้กระทําต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ 1-5 ปี และปรับ ตั้งแต่ 20,000-100,000 บาท และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกําหนดไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่
– เมาแล้วขับเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ผู้กระทําต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ 2-6 ปี และปรับตั้งแต่ 40,000-120,000 บาท และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกําหนดไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่
– เมาแล้วขับเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ผู้กระทําต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ 3-10 ปี และปรับตั้งแต่ 60,000-200,000 บาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่
– ผู้ขับขี่ที่กระทําผิดซ้ำข้อหาเมาแล้วขับ กระทําผิดครั้งแรกจะมีอัตราโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 – 20,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ หากทําผิดซ้ำภายใน 2 ปี นับแต่วันที่กระทําความผิดครั้งแรก เพิ่มอัตราโทษเป็นจําคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับตั้งแต่ 50,000 – 100,000 บาท และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมี กําหนดไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับข่ี ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 และที่แก้ไข เพิ่มเติม มาตรา 160 ตรี/1 มาตรา 160ตรี/2 และมาตรา 160 ตรี/3

ข้อมูลจาก : พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 43 มาตรา 160 มาตรา
160 ตรีกฎกระทรวง ฉบับที่ 21 (พ.ศ. 2560) ข้อ 3 (1)