เตรียมฟื้น “ภาษีความเค็ม” ชงสรรพสามิตทบทวน ห่วงสุขภาพคนไทยบริโภคเกิน ยันไม่ซ้ำเติมผู้บริโภค

146

เมื่อวันที่ 31 ส.ค. 65 ทพญ.จันทนา อึ้งชูศักดิ์ ประธานกรรมการกำกับทิศทางแผนอาหารเพื่อสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ปัญหาการกินเค็มที่มากเกิน ส่งผลให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อหัวใจห้องซ้ายหนา เกิดการสะสมของพังผืดในกล้ามเนื้อหัวใจ ไต และหลอดเลือด อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต ก่อนหน้านี้ให้ประชาชนตระหนักเรื่องลดบริโภคเค็ม ดูฉลากโภชนาการข้างผลิตภัณฑ์ แม้สัดส่วนของการบริโภคเค็มอาจลดลง แต่ก็ยังสูงเกินกว่าที่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำ คือ บริโภคเกลือโซเดียมไม่ควรเกิน 2,000 มิลลิกรัม แต่ปัจจุบันคนไทยยังรับประทานโซเดียมมากถึง 3,636 มิลลิกรัม โดยตั้งเป้าในอีก 3 ปี ข้างหน้าหรือ ปี 2025 การบริโภคเค็มต้องลดลง 30% ดังนั้น จึงเตรียมฟื้นเรื่องของภาษีความเค็มเข้ามากำกับดูแลผลิตภัณฑ์อาหาร ทั้งในส่วนของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารแช่เย็นสำเร็จรูป ขนมกรุบกรอบ เนื่องจากพบว่า เป็นสัดส่วนที่มีการบริโภคมาก และมีความเค็มสูง โดยจะมีการหารือกับกรมสรรพสามิตเพื่อทบทวนเรื่องนี้อีกครั้ง หลังจากมีการชะลอไปเมื่อเกิดสถานการณ์โควิด

blankจากที่มีการขึ้นราคาบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไปในราคา 1 บาท แต่การปรับขึ้นนี้จะช่วยให้ผู้ผลิตอาหารตระหนักและลดความเค็ม ต้นทุนการผลิตอาหารก็ลดลง คนก็จะมีสุขภาพดี โดยหากมีการประกาศขึ้นภาษีความเค็มจริง ก็จะมีการขึ้นในอาหาร 3 กลุ่ม ได้แก่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารแช่เย็นสำเร็จรูป และขนมกรุบกรอบ แต่ไม่ได้ประกาศและขึ้นทันที จะมีการมีการบังคับอีกอย่างน้อย 3 ปีข้างหน้า และให้ผู้ผลิตปรับลดสูตรความเค็มลง คนก็จะค่อยๆ ชินกับระดับความเค็ม

ขณะนี้ยังไม่กำหนดเพดานสัดส่วนของภาษีอย่างชัดเจน แต่อาหารทุกประเภท ระดับความเค็มไม่เท่ากัน ต่อหน่วยการบริโภค ปัจจุบันจากการสำรวจอาหารที่มีระดับความเค็ม พบว่า บะหมี่กึ่งสำเร็จแบบนำเข้าจากต่างประเทศ มีความเค็ม มีค่าโซเดียม มากกว่าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของไทย พร้อมเตรียมเรียกร้องให้ อย. กำหนดให้ซุปก้อนต้องมีฉลากโภชนาการ เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภคทราบถึงเกลือที่แฝงอยู่ในรูปแบบของเครื่องปรุงรสที่มีอันตรายมาก

สสส. ร่วมกับภาคีเครือข่าย ดำเนินการรณรงค์ขับเคลื่อนสังคมลดการบริโภคเค็ม พัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรม ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ จัดสภาพแวดล้อมด้านอาหารเพื่อสุขภาวะที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น
1. ผลักดันให้เกิดมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เรื่องนโยบายการลดบริโภคเกลือและโซเดียมเพื่อลดโรค NCDs
2. สนับสนุนการจัดทำยุทธศาสตร์การลดการบริโภคเกลือและโซเดียมในไทย ปี 2559-2568
3. พัฒนาสารทดแทนความเค็ม
4. พัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์อาหารลดโซเดียม
5. นวัตกรรมเครื่องตรวจวัดความเค็มในอาหาร (CHEM Meter)
6. ระบบฐานข้อมูลโซเดียมในวัตถุดิบอาหาร-เครื่องปรุงรสในอาหารประจำภูมิภาคและอาหารแปรรูป
7. ขับเคลื่อนมาตรการภาษีโซเดียม เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงสูตรลดปริมาณโซเดียมในผลิตภัณฑ์อาหาร
8. สื่อสารรณรงค์แคมเปญลดเค็ม ลดโรค และลดเค็ม ครึ่งหนึ่ง คนไทยห่างไกลโรค ทำให้ประชาชนเกิดความรู้ ความเข้าใจในวงกว้าง