วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานระบบการจัดการความรู้ ISO 30401: 2018 Knowledge Management Systems เป็นที่แรกของประเทศไทย 2018

103

วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานระบบการจัดการความรู้ ISO 30401: 2018 Knowledge Management Systems เป็นที่แรกของประเทศไทย 2018

blank

หลักสูตรการจัดการ ความรู้ และนวัตกรรม (ระดับบัณฑิตศึกษา) วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานระบบการจัดการความรู้ ISO 30401: 2018 Knowledge Management Systems เป็นที่แรกของประเทศไทย 2018 ซึ่งเป็นมาตรฐานระบบการจัดการความรู้ (Knowledge Management System) ที่เป็นข้อกำหนดและแนวทางในการจัดตั้ง ดำเนินการ รักษา ตรวจสอบ และ ปรับปรุงระบบการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพโดยมุ่งเน้นไปที่วิธีการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบในการสร้าง และใช้ความรู้ขององค์กร ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานและการบริหารการจัดการความรู้ของ “หลักสูตรการจัดการความรู้และ นวัตกรรม วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่” เป็นไปตามมาตรฐานและข้อกำหนด ของระบบการจัดการความรู้ หลักสูตรการจัดการความรู้และนวัตกรรม จึงเล็งเห็นความสำคัญ ของการดำเนินงานและการบริหารจัดการให้เป็นไปตามมาตรฐานระบบการจัดการความรู้ (Knowledge Management System) ตามกรอบแนวทางของ ISO 30401:2018 และระหว่างวันที่ 15-17 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา หลักสูตรการจัดการความรู้และนวัตกรรม (ระดับบัณฑิตศึกษา) วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้เข้ารับการตรวจประเมินเพื่อขอคำรับรองมาตรฐานระบบการจัดการความรู้ ISO 30401: 2018 Knowledge Management Systems จาก British Standard Institute (BSI) และผ่านการรับรอง

เมื่อวันที่10 มีนาคม 2564 เกิดจากความมุ่งมั่นทุ่มเทและพัฒนาหลักสูตรมาโดยตลอดนำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิติพงษ์ ยอดมงคล อดีตคณบดีและสานต่อความสำเร็จโดยอาจารย์ ดร.ดนัยธัญ พงษ์พัชราธรเทพ ประธานหลักสูตรฯ อาจารย์ ดร.อัจฉรา คำอักษร เลขานุการคณะกรรมการบริหารหลักสูตรพร้อมด้วยอาจารย์และเจ้าหน้าที่ ที่มุ่งเน้น พัฒนาการเรียนการสอน งานวิจัยที่มีระบบงานคุณภาพ ตั้งแต่กระบวนการวางแผนการทำงาน วิธีการปฏิบัติงาน และระบบการตรวจสอบในทุกขั้นตอน โดยศาสตร์ทางด้านการจัดการความรู้ (Knowledge ManagementKM) จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพด้านการเรียนรู้และพัฒนาขีดความสามารถ (Competency) ของบุคลากรในทุกระดับขององค์กร เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย รวมทั้งดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายตาม วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ขององค์กร