ธนาคารแห่งประเทศไทย ตอบข้อสงสัย โครงการ “พักทรัพย์ พักหนี้”

241

ธนาคารแห่งประเทศไทย ตอบข้อสงสัย โครงการ “พักทรัพย์ พักหนี้”

กลไกของมาตรการ และ สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมจากภาครัฐ คืออะไรความแตกต่างจากการตีทรัพย์ชำระหนี้ปกติเป็นอย่างไร ประโยชน์ที่ผู้ประกอบการจะได้รับมีอะไรบ้าง อย่าปล่อยคำถามเหล่านี้ให้ค้างคาใจ ไปดูรายละเอียดกันเลย
blank
blank
มาตรการนี้แตกต่างจาก การตีทรัพย์ชำระหนี้ตามปกติอย่างไร
มาตรกานี้มีการกำหนดแนวทางการคำนวณราคาซื้อคืนไว้ชัดเจน และให้โอกาสลูกหนี้รายเดิมมาซื้อคืนก่อนเป็นลำดับแรก รวมทั้งภาครัฐให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีและค่าธรรมเนียม ในขณะที่การตีทรัพย์ชำระหนี้ทั่วไปนั้น ธนาคารมีสิทธิ ที่จะขายทรัพย์ ให้กับใครก็ได้ที่ราคาตลาด
ผู้ประกอบการจะได้รับประโยชน์อย่างไร
ผู้ประกอบการไม่ต้อง แบกรับภาระต้นทุนทางการเงินชั่วคราว มีโอกาสในการกลับมาดำเนินธุรกิจได้ในอนาคต และหลีกเลี่ยงการถูกกดราคาทรัพย์สิน
ผู้ประกอบการที่จะขอเข้ามาตรการนี้ต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง
  • บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่จดทะเบียน มีสถานประกอบการและประกอบธุรกิจในประเทศไทย
  • เป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินนั้นอยู่แล้วก่อนวันที่ 1 มี.ค. 64 และไม่เป็น NPL ณ วันที่ 31 ธ.ค. 62
  • ไม่เป็นผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน
  • มีทรัพย์หลักประกันซึ่งผู้ประกอบธุรกิจ ได้นำมาเป็นหลักประกัน ตามกฎหมายกำหนดสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้ ณ วันที่ 28 ก.พ. 64
มาตรการนี้จำกัด เฉพาะผู้ประกอบกิจการโรงแรมหรือไม่
มาตรการนี้ไม่ได้จำกัด เฉพาะผู้ประกอบกิจการโรงแรมเท่านั้น กิจการอื่นที่มีทรัพย์สินเป็นหลักประกันก็สามารถเข้าร่วมมาตรการนี้ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของธนาคารว่าเป็นผู้ประกอบธุรกิจ ที่ได้รับผลกระทบ แต่ยังมีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจในอนาคตหรือไม่
ทรัพย์สินประเภทใดที่สามารถเข้าร่วมมาตรการนี้
โครงการไม่ได้กำหนดประเภททรัพย์สินที่สามารถนำมาตีโอน เพื่อชำระหนี้ได้ เพียงแต่ต้องเป็นทรัพย์สินที่นำมาเป็นหลักประกันตามกฎหมายกับสถาบันการเงินเจ้าหนี้ ณ วันที่ 28 ก.พ. 64 ทั้งนี้ อาจขึ้นอยู่กับการพิจารณาของสถาบันการเงินแต่ละแห่ง
การตีโอนทรัพย์สิน
กำหนดราคาตีโอนทรัพย์อย่างไร
ราคาตีโอนทรัพย์ขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างธนาคารและผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งหากธนาคารรับโอนทรัพย์สินด้วยราคาที่ไม่สูง ผูัประกอบธุรกิจหรือเจ้าของทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน ก็มีสิทธิในการซื้อทรัพย์สินดังกล่าวคืนในราคาที่ไม่สูงด้วยเช่นกัน
หากตีโอนทรัพย์ที่เป็นหลักประกันแล้ว แต่ยังมีหนี้คงค้างอยู่ มีแนวทางขอรับความช่วยเหลืออย่างไร
ลูกหนี้สามารถเจรจากับธนาคารเพื่อขอปรับโครงสร้างหนี้สำหรับหนี้ที่คงเหลือ ภายหลังตีโอนทรัพย์แล้ว โดยธนาคารจะพิจารณาปรับโครงสร้างหนี้ให้สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้
การเช่าทรัพย์สิน
หากลูกหนี้ต้องการเช่าทรัพย์สินกลับเพื่อดำเนินธุรกิจต่อ ต้องทำอย่างไร
  • ลูกหนี้หรือเจ้าของทรัพย์ที่เป็นหลักประกันสามารถเช่าทรัพย์สินกลับเพื่อนำไปประกอบธุรกิจต่อได้ โดยแจ้งความประสงค์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ธนาคารรับโอนทรัพย์
  • หากลูกหนี้หรือเจ้าของทรัพย์ที่เป็นหลักประกันไม่ประสงค์เช่าทรัพย์สิน หรือไม่แจ้งความประสงค์ จะใช้สิทธิเช่าภายในระยะเวลาดังกล่าว ธนาคารสามารถนำทรัพย์สินไปให้บุคคลอื่นเช่าได้
หากลูกหนี้หรือเจ้าของทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันใช้สิทธิ์เช่าทรัพย์สิน แต่ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาเช่าได้ เช่น ค้างชำระค่าเช่า จะส่งผลต่อสิทธิ์การซื้อคืนหรือไม่
  • ไม่ส่งผลกระทบต่อสิทธิ์การซื้อคืน ยกเว้นผู้เช่าทำทรัพย์สินเสียหาย ชำรุด เสื่อมค่า อาจไม่ได้รับสิทธิ์ในการซื้อคืน
การซื้อคืนทรัพย์สิน
ลูกหนี้มีกำหนดระระเวลาการซื้อคืนทรัพย์สินเท่าใด
ลูกหนี้หรือเจ้าของทรัพย์มีสิทธิซื้อคืนได้ภายในระยะเวลา 3-5 ปี นับแต่วันที่รับโอน ตามแต่ธนาคารและลูกหนี้ตกลงกัน โดยแต่ในช่วงเวลาดังกล่าว ธนาคารจะยังไม่ขายทรัยพ์สินที่รับโอน จนกว่าจะได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากลูกหนี้หรือเจ้าของทรัพย์ว่าจะไม่ใช่สิทธิ์ดังกล่าว
กำหนดราคาซื้อคืนทรัยพ์สินอย่างไร
  • ราคาซื้อคืนทรัพย์สินต้องไม่เกินกว่าราคาที่ธนาคารตีโอน + ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา ไม่เกิน 1% ต่อปี + ค่าใช้จ่ายอื่นเพื่อดูแลทรัพย์ที่ได้จ่ายจริงและเหมาะสมตามที่ตกลงกันไว้
  • หากลูกหนี้มีการเช่าทรัพย์สินในระหว่างที่ธนาคารรับโอน สามารถนำค่าเช่ามาหักออก จากราคาซื้อคืนทรัพย์สินได้เต็มจำนวน

ลูกหนี้สามารถขอซื้อคืนทรัพย์สินก่อนกำหนดได้หรือไม่

ลูกหนี้หรือเจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิ์ซื้อคืนทรัพย์สินหลักประกันตามมาตรการได้ก่อนครบกำหนด ระยะเวลาตามสัญญา

หากลูกหนี้ผิดสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์ที่ตีโอน จะส่งผลกระทบต่อสิทธิ์ซื้อคืนหรือไม่

สิทธิ์ซื้อคืนยังคงเดิม เว้นแต่ลูกหนี้ผิดสัญญาจนสถาบันการเงินยกเลิกสัญญาปรับโครงงสร้างหนี้ แต่ยังคงให้สิทธิลูกหนี้แสดงเจตนาว่าจะซื้อทรัพย์คืนภายใน 30 วัน

 หากสนใจเข้าร่วมมาตรการต้องดำเนินการอย่างไร
ลูกหนี้ที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด สามารถติดต่อธนาคารที่เป็นเจ้าหนี้ เพื่อขอเข้าร่วมโครงการได้ ซึ่งธนาคารแต่ละแห่งจะพิจารณาตามหลักเณฑ์ภายในต่อไป
SMEs สามารถติดตามรายละเอียดของมาตรการทั้งหมดที่  https://bit.ly/3xOdt3e
และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ call center โทร. 0-2283-6112 E-mail : FinRehab@bot.or.th