เผยค่าแรงขั้นต่ำใหม่ หลังราชกิจจาฯ ประกาศปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ มีผลตั้งแต่ 1 ม.ค. 63 ที่ผ่านมา

6403

เผยค่าแรงขั้นต่ำใหม่ หลังราชกิจจาฯ ประกาศปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ มีผลตั้งแต่ 1 ม.ค. 63 ที่ผ่านมา

          จากที่นายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 20 ครั้งที่ 6/2562 ว่า คณะกรรมการค่าจ้างได้ประชุมพิจารณาและมีมติการขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ประจำปี 2562

โดยได้ข้อสรุปร่วมกันในการปรับขึ้นซึ่งแบ่งเป็น 10 ระดับ ได้แก่

ระดับที่ 1) ค่าจ้าง 336 บาท มี 2จังหวัด คือ ชลบุรีและภูเก็ต
ระดับที่ 2) ค่าจ้าง 335 บาท มี 1 จังหวัด คือ ระยอง
ระดับที่ 3) ค่าจ้าง 331 บาท มี 6 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร
ระดับที่ 4) ค่าจ้าง 330 บาท คือ ฉะเชิงเทรา
ระดับที่ 5) ค่าจ้าง 325 บาท มี 14 จังหวัด คือ กระบี่ ขอนแก่น เชียงใหม่ ตราด นครราชสีมา พระนครศรีอยุธยา พังงา ลพบุรี สงขลา สระบุรี สุพรรณบุรี สุราษฎร์ธานี หนองคาย และอุบลราชธานี
ระดับที่ 6) ค่าจ้าง 324 บาท มี 1 จังหวัด คือ ปราจีนบุรี
ระดับที่ 7) ค่าจ้าง 323 บาท มี 6 จังหวัด คือ กาฬสินธุ์ จันทบุรี นครนายก มุกดาหาร สกลนคร และสมุทรสงคราม
ระดับที่ 8) ค่าจ้าง 320 บาท มี 21 จังหวัด คือ กาญจนบุรี ชัยนาท นครพนม นครสวรรค์ น่าน บึงกาฬ บุรีรัมย์ ประจวบคีรีขันธ์ พัทลุงพิษณุโลก เพชรบุรี เพชรบูรณ์ พะเยา ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย สระแก้ว สุรินทร์ อ่างทอง อุดรธานี และอุตรดิตถ์
ระดับที่ 9) ค่าจ้าง 315 บาท มี 22 จังหวัด คือ กำแพงเพชร ชัยภูมิ ชุมพร เชียงราย ตรัง ตาก นครศรีธรรมราช พิจิตร แพร่ มหาสารคาม แม่ฮ่องสอน ระนอง ราชบุรี ลำปาง ลำพูน ศรีสะเกษ สตูล สิงห์บุรี สุโขทัย หนองบัวลำภู อุทัยธานี และอำนาจเจริญ
ระดับที่ 10) ค่าจ้าง 313 บาท มี 3 จังหวัด คือ นราธิวาส ปัตตานี และยะลาค่าแรงขั้นต่ำ

      โดยเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2562 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 10) โดยมีรายละเอียดการปรับอัตราค่าจ้างตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น และให้มีผลในวันที่ 1 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา

     นายสุทธิฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า การพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำในครั้งนี้ ได้พิจารณาอย่างกว้างขวางและรอบคอบ เชื่อว่าจะเป็นผลดีต่อการเจริญเติบโตต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน ภาวะเงินเฟ้อ และขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ส่วนมาตรการลดผลกระทบนั้น มีกระทรวงพาณิชย์ได้เข้ามาดูแลในเรื่องการควบคุมราคาสินค้า เพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพของประชาชน รวมทั้งกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงแรงงาน ได้ดูแลในเรื่องผลกระทบด้วยการประกันการว่างงาน และการเพิ่มทักษะฝีมือให้แรงงานมีทักษะที่สูงขึ้น เป็นต้น

อ่านประกาศราชกิจจานุเบกษาฉบับเต็ม