กรมควบคุมโรคเตือนระวัง “โรคไอกรน” ในเด็ก แนะพ่อแม่ผู้ปกครองช่วงนี้ดูแลอย่างใกล้ชิด

4802

กรมควบคุมโรค แนะพ่อแม่ ผู้ปกครอง ในช่วงนี้ต้องดูแลและสังเกตอาการป่วยของบุตรหลานอย่างใกล้ชิด ระวังป่วยด้วยโรคไอกรน

      จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค สถานการณ์โรคไอกรน ในประเทศไทย ตั้งแต่ 1 ม.ค.-21 เม.ย. 63 มีผู้ป่วยโรคไอกรนแล้ว 31 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุแรกเกิด-4 ปี (ร้อยละ 48.39) รองลงมาคืออายุ 45-54 ปี และ 35-44 ปี ตามลําดับ จังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด 5 อันดับแรกคือ ตาก อุบลราชธานี บึงกาฬ พะเยา และนราธิวาส โดยรายล่าสุดเป็นเด็กหญิง อายุ 8 เดือน จ.ยะลา ซึ่งได้รับวัคซีนไม่ครบ

      ในช่วงปี 57-62 มีรายงานผู้ป่วย 16-174 ราย เสียชีวิตปีละ 0-3 ราย ซึ่งจํานวนผู้ป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 58 โดยเฉพาะในปี 61 พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็น 174 ราย โดยพบในกลุ่ม อายุ 1-3 เดือนมากที่สุด ในหลายปีที่ผ่านมา รวมทั้งปีนี้มักพบ ในกลุ่มเด็ก ซึ่งไอกรนเป็นโรคติดต่อที่มักพบในเด็กแรกเกิด

      คาดว่าในช่วงนี้จะพบผู้ป่วยโรคไอกรนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก เนื่องจากข้อมูลการสอบสวนโรคพบว่า ผู้ป่วยที่เป็นเด็กเล็กส่วนใหญ่ มีประวัติติดเชื้อจากสมาชิกในครอบครัว และผู้ป่วยอายุยังไม่ถึงกําหนดให้วัคซีน ประกอบกับ ช่วงนี้มีสถานการณ์โรคโควิด-19 อาจทําให้การเดินทางไปรับวัคซีนตามกําหนดในแต่ละครั้งเป็นไป ได้ยากขึ้น

     โรคไอกรนเป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ ติดต่อกันได้ง่ายผ่านทางไอ จาม โดยในช่วงแรก จะคลํายอาการโรคไข้หวัดทั่วไป คือ มีไข้ ไอ จาม น้ํามูกไหล อ่อนเพลีย ต่อจากนั้นจะไอรุนแรงมากขึ้น ในสัปดาห์ที่ 2-4 ไอติดต่อกัน 5-10 ครั้งแล้วหยุดไป แล้วจะเริ่มไอใหม่เป็นเช่นนี้ซ้ําๆ เมื่ออาการไอ สิ้นสุดแล้วจะหายใจเข้าอย่างรวดเร็วทําให้เกิดเสียงดัง “วีป” ไอรุนแรงจนอาเจียน และมีเสมหะปน บางรายถึงขั้นไม่สามารถหายใจเองได้

     กรมควบคุมโรค ขอแนะนําว่า หากมีอาการไอติดต่อกันเกิน 10 วัน หรือไอเป็นชุด ให้แยก ผู้ป่วยเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแก่ผู้อื่น โดยเฉพาะเด็กเล็กที่ยังได้รับวัคซีนไม่ครบ สวมหน้า กากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ แล้วรีบพบแพทย์ ผู้ที่มีอาการไอ จาม ไม่ควรคลุกคลีกับเด็กแรกเกิด หรือไม่ควรพาเด็กเล็กไปในสถานที่ชุมชนหรือแออัด และหากพบเด็กแรกเกิดมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ไอเป็นชุดๆ ไอมาก หายใจไม่ทัน หรือไอแล้วมีเสียงวีป ให้รีบพาไปแพทย์ทันที ทั้งนี้ ขอให้ผู้ปกครอง พาบุตรหลานไปรับวัคซีนป้องกันโรคไอกรนตามช่วงอายุที่กําฝนด คือ อายุ 2,4,6 เดือน และฉีดกระตุ้นเมื่ออายุ 12 และ 4 ปี สอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422