4 ก.ค. 68 – ศ.นพ.มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ให้ข้อมูลผ่านเฟซบุ๊กประเด็นเกี่ยวกับโรงมะเร็ง ระบุว่า
NCI ตีพิมพ์งานวิจัยใน Nature ยืนยันชัดเจนว่า PM2.5 สัมพันธ์กับยีนกลายพันธุ์ในผู้ป่วยมะเร็งปอดที่ไม่สูบบุหรี่ (lung cancer in never smoker: LCINS)
การศึกษานี้รวบรวมชิ้นเนื้อมะเร็งปอดจากผู้ป่วยกว่า 28 แห่งทั่วโลกรวม 871 รายในโครงการ Sherlock-Lung cohort มีข้อมูลที่น่าสนใจมาก พบว่า LCINS ที่มาจากประเทศตะวันตกแถบ US และ EU กับแถบเอเชียมีการกลายพันธุ์ไม่เหมือนกัน โดยเอเชียมียีน EGFR mutation สูงกว่ามาก ในขณะที่กลุ่ม US-EU มี KRAS mutation เด่น นอกจากนี้ผู้ป่วยเอเชียยังมี TP53 mutation ร่วมด้วยบ่อย ผู้ป่วยส่วนใหญ่มี genomic signature เป็น SBS40a แต่มี signature ของผู้ป่วยจากไต้หวันที่สัมพันธ์กับ aristolochic acid (พบในยาสมุนไพรจีน) ซึ่งไม่พบในผู้ป่วยประเทศอื่น
นอกจากนี้ผู้ป่วยที่มาจากประเทศที่มี PM2.5 สูง นอกจากจะเจอ EGFR และ TP53 mutations แล้ว ยังมี telomere ในเซลล์มะเร็งสั้นกว่า
โดยปริมาณของ PM2.5 ที่สูงขึ้นสัมพันธ์กับการกลายพันธุ์ของยีนมะเร็งที่เพิ่มขึ้นและอัตรา telomere ที่สั้นลง คือยิ่ง PM2.5 สูงจะเจอ mutation มากกว่า และ telomere length ในชิ้นเนื้อมะเร็งยิ่งสั้น
อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ second hand smoker ไม่ได้ทำให้ mutation มากขึ้นครับ ตรงข้ามกับ PM2.5 เน้นอีกที PM2.5 เป็นเรื่อง serious มากนะครับ และอีก 4-5 เดือนเราก็จะเจอมันอีกแล้ว
ขอบคุณข้อมูล : มานพ พิทักษ์ภากร