มูลนิธิเอ็มพลัส ร่วมกับ สสส. เปิดตัวโครงการ “Stop Stig” ลดการตีตราและการเลือกปฏิบัติกับผู้อยู่ร่วมกับเอชไอวี ในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นจังหวัดนำร่อง

41

มูลนิธิเอ็มพลัส ร่วมกับ สสส. เปิดตัวโครงการลดการตีตราและการเลือกปฏิบัติกับผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี (Stop Stig) ด้วยการแถลงรายงานสถานการณ์การตีตราและเลือกปฏิบัติกับผู้อยู่ร่วมกับเอชไอวี ประจำปี 2566 เพื่อให้สอดคล้องตามแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการยุติปัญหาเอดส์ พ.ศ. 2560-2573 รับมือความ ท้าทายจากสถานการณ์การตีตราและเลือกปฏิบัติกับผู้อยู่ร่วมกับเอชไอวีในประเทศไทย

d071qoP.jpeg
d0715Jt.jpeg

เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา มูลนิธิเอ็มพลัส ร่วมกับ สำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดงานเปิดตัวโครงการ “Stop Stig” ลดการ ตีตราและการเลือกปฏิบัติกับผู้อยู่ร่วมกับเอชไอวี จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นจังหวัดนำร่อง และเวทีเสวนาหัวข้อ “Stop Stig Talk เพราะเราเท่าเทียมกัน” โดยนายพงศ์ภีระ พัธภีระพงศ์ ผู้อำนวยการมูลนิธิเอ็มพลัส กล่าวถึงที่มาว่า “การทำงานด้านสุขภาพทางเพศ เอชไอวีเอดส์นั้น เป็นภารกิจหลักของมูลนิธิเอ็มพลัสที่จะร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และเครือข่ายภาคประชา สังคมในการขับเคลื่อนงานด้านเอชไอวี เอดส์ ให้เป็นศูนย์ภายใต้แนวคิด 3 ต. ได้แก่ ไม่ติด ไม่ตาย และไม่ตีตราภายในปี 2573 ตามแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติเพื่อยุติปัญหาเอดส์ จึงได้ริเริ่มโครงการ “Stop Stig” ในการ ขับเคลื่อนเพื่อลดการตีตรา เลือกปฏิบัติต่อผู้อยู่ร่วมกับเอชไอวีโดยให้ “เรื่องเอชไอวีเอดส์เป็นเรื่องปกติ การใช้ถุงยางอนามัยเป็นเรื่องปกติ ตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวให้เป็นเรื่องปกติ การเข้าถึงบริการป้องกันและรักษาเอชไอวี/เอดส์เป็นเรื่องปกติ”

d071Ofe.jpegด้านนายวรวิทย์ ชัยสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ประธานเปิดพิธีโครงการ “Stop Stig” จากคำกล่าวรายงาน “ความสำคัญและวัตถุประสงค์แคมเปญเปิดโครงการฯ โดย ผู้อำนวยการมูลนิธิเอ็มพลัส ทำให้ทราบถึงความเป็นมาและเหตุผลสำคัญของโครงการ “ลดการตีตราและการเลือกปฏิบัติกับผู้อยู่ร่วมกับเอชไอวีผู้ได้รับผลกระทบจากเอชไอวี” ภายใต้โครงการสต๊อปสติ๊ก เพื่อยุติปัญหาเอดส์ในประเทศไทยตามแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ เพื่อขับเคลื่อนสังคมไทยทำให้เท่าเทียม มุ่งสู่การยุติเอดส์ เริ่มต้นได้ที่พวกเราทุกคน โดยการไม่ตีตราและเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี เพื่อสร้างค่านิยมให้สังคมไทยใหม่ว่า เอดส์เป็นเรื่องปกติ การใช้ถุงยางอนามัยเป็นเรื่องปกติ ตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีให้เป็นเรื่องปกติ การเข้าถึงบริการป้องกันและรักษาเอชไอวี/เอดส์เป็นเรื่องปกติ ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการยุติปัญหาเอดส์ พ.ศ. 2560-2573ภายใต้แนวคิด 3 ต. ได้แก่ ไม่ติด ไม่ตาย และไม่ตีตรา”

ดร.ชาติวุฒิ วังวล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า “สสส. สนับสนุนการทำงานสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศมาตั้งแต่ปี 2548โดยร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม มุ่งสร้างทัศนคติเชิงบวกเรื่องเพศ เพื่อลดการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และเพิ่มการเข้าถึงบริการในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยจังหวัดเชียงใหม่ เป็นอีก 1 จังหวัดต้นแบบ ที่ สสส. ให้ความสำคัญในการยุติเอดส์ตามแผนยุทธศาสาตร์แห่งชาติ โดย ร่วมกับมูลนิธิเอ็มพลัส และสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ กระทรวงสาธารณสุข ดำเนินโครงการ “Stop Stig” ลดการตีตราและการเลือกปฏิบัติกับผู้อยู่ร่วมกับเอชไอวีจังหวัดเชียงใหม่เพื่อเป็นจังหวัดนำร่อง เพื่อลดปัญหาการตีตราและเลือกปฏิบัติต่อผู้ที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีซึ่งมีอุปสรรคและความท้าทายที่สำคัญในการลดการติดเชื้อเอชไอวีในจังหวัดเชียงใหม่จนเป็นศูนย์”

d071xIZ.jpeg
d071UtI.jpeg
d071b5l.jpeg
d071jVk.jpeg
d071oSv.jpeg
d071DiE.jpeg
d071AuN.jpeg
d071PIV.jpeg
d0712wQ.jpeg
d071CDS.jpegd071pM9.jpeg
d071uJn.jpeg
d071nhg.jpeg
d071rEW.jpeg
d0718V2.jpeg
d071VY1.jpeg
d071Xiy.jpeg