10 ก.ค. 66 – นพ.สมรส พงศ์ละไม แพทย์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก “Somros MD Phonglamai” ระบุว่า คนไข้อัมพาตอายุน้อยสุดที่หมอฟื้นฟูสมองให้ อายุ 17 ปี ปัจจัยหนึ่งที่พบได้บ่อยในยุคนี้คือ “นอนดึก นอนน้อย”
ทั้งนี้คุณหมอแนะนำเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่กลัวว่าจะเสี่ยงต่อการเกิด stroke ว่า “สามารถตรวจเบื้องต้นได้ประมาณ 80-90% ไม่มีอะไร 100% ใน medicine ครับ รพ.เอกชน จะมีโปรแกรมตรวจ stroke screening เช่น MRI MRA Brain, US carotid, EEG ตรวจเลือดต่างๆ ฯลฯ แต่ต้องจ่ายเงินเองโดยจะมีค่าใช้จ่ายไม่เกิน 20,000 บาท เหมาะกับคนที่จ่ายเองได้”
นอกจากนี้คุณหมอยังบอกว่า ผู้ที่นอนดึกและตื่นสาย ก็มีโอกาสเสี่ยงเช่นเดียวกัน อีกทั้งยังมีชาวเน็ตเกิดข้อสงสัยว่าเป็นเพราะวัคซีน “โควิด” หรือไม่นั้น ทางด้านของคุณหมอให้ข้อมูลว่า “ปัจจัยนี้ก็น่าคิดครับ เจอหลายเคสเหมือนกันที่น่าสงสัย แต่ไม่มีใครฟันธงให้ได้
การนอนน้อยกว่า 5 ชั่วโมง มีโอกาสเป็นอัมพาตเพิ่มขึ้น 3 เท่า https://n.neurology.org/content/100/21/e2191
กลไกที่การนอนดึกทำให้เกิดอัมพาต
– ระบบประสาทอัตโนมัติแปรปรวน
– ทำให้ความดันเลือดสูง เส้นเลือดในสมองแตก ขดตัว โป่งพอง (aneurysm)
– ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ แล้วส่ง clot ไปอุด
– ทำให้เส้นเลือดดำในสมองคั่ง
– สารพิษในสมองคั่ง (เช่น beta-amyloid) เกิดพิษกับเซลล์สมอง เป็นโรคสมองเสื่อมง่ายขึ้น
– มีสารอนุมูลอิสระและสารก่อความอักเสบมากขึ้น
– นอนน้อยทำให้ฮอร์โมนแปรปรวน
– นอนน้อยเรื้อรังทำให้อ้วน → ความดันขึ้น ไขมันสูง หยุดหายใจขณะนอนหลับ (OSA) ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองน้อย
– การนอนน้อยสัมพัน์กับการกินดึก ยิ่งทำให้อ้วนมากขึ้น ไขมันสะสมมากขึ้น
ขอบคุณข้อมูล : เฟซบุ๊ก Somros MD Phonglamai