สรุปยอด 7 วันอันตรายสงกรานต์ 2566 เมาแล้วขับ 8,575 คดี กรุงเทพฯ ครองแชมป์ เชียงใหม่ อันดับที่ 3

221

18 เม.ย. 66 – นายวีระกิตติ์ หาญปริพรรณ์ อธิบดีกรมคุมประพฤติ เปิดเผยว่า วันสุดท้ายของการคุมเข้ม 7 วันอันตรายสงกรานต์ 2566 (17 เมษายน 2566) สถิติคดีที่ศาลสั่งคุมความประพฤติมีจำนวนทั้งสิ้น 1,910 คดี จำแนกเป็น คดีขับรถขณะเมาสุรา 1,870 คดี คิดเป็นร้อยละ 97.9 และคดีขับเสพ 40 คดี คิดเป็นร้อยละ 2.1 สำหรับยอดสะสม 7 วัน (วันที่ 11 – 17 เมษายน 2566) มีจำนวนทั้งสิ้น 8,869 คดี จำแนกเป็น คดีขับรถขณะเมาสุรา 8,575 คดี คิดเป็นร้อยละ 96.69 คดีขับรถประมาท 23 คดี คิดเป็นร้อยละ 0.26 คดีขับซิ่ง 1 คดี คิดเป็นร้อยละ 0.01 และคดีขับเสพ 270 คดี คิดเป็นร้อยละ 3.04 จังหวัดที่มีคดีขับรถในขณะเมาสุราสูงสุด 3 อันดับ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จำนวน 522 คดี รองลงมาร้อยเอ็ด จำนวน 473 คดี และอันดับสาม เชียงใหม่ จำนวน 458 คดี เมื่อเปรียบเทียบสถิติคดีขับรถขณะเมาสุราสะสมทั้ง 7 วันที่เข้าสู่ระบบงานคุมประพฤติในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2565 มีจำนวน 7,141 คดี กับ ปี พ.ศ. 2566 จำนวน 8,575 คดี พบว่า คดีขับรถขณะเมาสุรา มีจำนวนเพิ่มขึ้น 1,434 คดี คิดเป็นร้อยละ 20.08

อาจเป็นรูปภาพของ ข้อความพูดว่า "เทศกาลสงทรานต์ ปี 2566 7 วันอันตราย เปรียบเทียบ สติติดี่ป่ส่าุนุปรพุ่งทา พ.ศ. 2565 และ พ.ศ. 2566 ฐานความผิด ปี 2565 ยอดสะสม 7วัน ขับรถขณะเมาสุรา ปี 2566 7,141 ผลต่าง ขับรถประมาท 8,575 19 1,434 ขับซิ่ง ขับเสพ 765 รวม 270 7,925 495 8,869 ชีวิตวิถีใหม่ ขับขี่ปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ เมาขับ จับติด EM 944 สายด่วนกรมคุมประพฤติ 1111ด78"

สำหรับในช่วง 7 วันที่มีการควบคุมเข้มงวด สำนักงานคุมประพฤติทั่วประเทศ ได้ร่วมสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการให้บริการประชาชนตามสถานที่ต่างๆ โดยให้บริการประชาชนแจกน้ำดื่ม อาหาร เครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่ม อำนวยความสะดวกจราจร ที่จุดบริการประชาชน ด่านชุมชน และด่านตรวจค้น รวมทั้งสิ้นจำนวน 562 จุด ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย อาสาสมัครคุมประพฤติ เครือข่ายยุติธรรมชุมชน ผู้ถูกคุมความประพฤติ และประชาชน จำนวนทั้งสิ้น 12,636 คน

อธิบดีกรมคุมประพฤติ กล่าวเน้นย้ำถึงมาตรการคุมประพฤติที่มีต่อผู้กระทำผิดที่เข้าสู่กระบวนการคุมความประพฤติในฐานความผิดขับรถขณะเมาสุราทุกราย จะต้องผ่านการคัดกรองแบบประเมินการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หากพบว่ามีความเสี่ยงสูงในการติดสุรา จะส่งเข้ารับการบำบัดรักษา ณ สถานพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข สำหรับผู้กระทำผิดที่มีความเสี่ยงต่อการกระทำผิดซ้ำ ต้องเข้ารับการแก้ไขฟื้นฟูแบบเข้มข้นในรูปแบบค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นระยะเวลา 3 วันต่อเนื่อง และต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการคุมความประพฤติ อาทิ รายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ และทำงานบริการสังคม เพื่อให้ตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดจากการเมาแล้วขับ เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุทางถนน ซึ่งทำให้เกิดความสูญเสียต่อตนเองและครอบครัว รวมถึงสร้างความปลอดภัยให้กับสังคมต่อไป

อาจเป็นรูปภาพของ ข้อความพูดว่า "เทศกาลสงทรานต์ ปี 2566 7 วันอันตราย ยอดสะสมสูงสุด 3 ฉันดับ วันที่ 11- 17 เมษายน 2566 2566 จังหวัด จำนวนดดี กรุงเทพมหานคร 530 ร้อยเอ็ด 473 เชียงใหม่ 458 123456 ชีวิตวิถีใหม่ ขับขี่ปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ เมาขับ จับตด EM สายด่วนกรมคุมประพฤติ 1111 กด 78"