“เครียดสะสม” เสี่ยงสูงต่อ ‘อัมพฤกษ์’ เช็คพฤติกรรมด่วน!

243

เมื่อวันที่ 28 ก.ย. 65 ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา “หมอธีระวัฒน์” ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ประเด็นเกี่ยวกับ “เครียดสะสมเสี่ยงสูงต่ออัมพฤกษ์” ระบุว่า เราพูดกันมาแต่โบราณว่าอย่าเครียดจะไม่ดีต่อสุขภาพ จนกระทั่งเริ่มมีหลักฐานชัดๆ เช่น รายงานในวารสารของโรคสมองและระบบประสาท (JNNP) ตั้งแต่ปี 2555 ลงบทรายงานตอกย้ำผลสะสมของความเครียด โดยศึกษาผู้ป่วยที่มีอัมพฤกษ์เส้นเลือดผิดปกติซึ่ง 90% เป็นต้น ที่เหลือเป็นแตก ทั้งหมดเป็นจำนวน 150 ราย อายุ 18-65 ปี และเทียบกับเพื่อนบ้านละแวกเดียวกันที่มีอายุใกล้เคียง และประเมินลักษณะของสถานะทางสังคม สุขภาพและโรคประจำตัว ตลอดจนดัชนีวัดความเครียด ลักษณะของพฤติกรรม ปฏิกิริยาตอบโต้กับความเครียด นิสัย การใช้ชีวิต ซึ่งรวมถึงการบริโภคอาหารชนิดต่างๆ ของหวาน ปริมาณการสูบบุหรี่ สุรา ภาวะสุขภาพของร่างกาย หัวใจและการเต้นของหัวใจ เป็นต้น

blank

ผลที่ได้เมื่อตัดตัวแปรต่างๆ ออก พบว่า พฤติกรรมนิสัยชอบเครียด ลักษณะของการเป็นคนชนิด A ทะเยอทะยาน เจ้าระเบียบ จู้จี้จุกจิก จัดแบ่งตารางชีวิตเวลาเป็นระบบ หรือเรียกง่ายๆว่า “บ้างาน” (workaholic) หงุดหงิดง่ายๆ เมื่อไม่ได้ดังใจ สติแตกเมื่อไม่สมประสงค์ มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคเส้นเลือดสมอง และเป็นได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง

ลักษณะดังกล่าวต่างกับชนิด B แบบฟ้ากับเหว โดยที่ B จะเรื่อยเฉื่อย ทำงานสำเร็จก็ดีใจ ไม่สำเร็จก็ไม่ว่า ไม่ตีโพยตีพาย แต่งานการไม่ประสงค์ก้าวหน้า

การเป็นคนชนิด A ดำรงชีวิตเร่งรีบ แข่งกับเวลามีสิทธิตายอนาถสูงขึ้น นอกจากการที่เป็นคนชนิด A แล้ว ภาวะของสภาวะแวดล้อมซึ่งก่อให้เกิดความบีบคั้นทางอารมณ์และจิตใจ ก็ยังคงเป็นปัจจัยหลักด้วยที่ทำให้เกิดความเครียดสูง และตามด้วยการเกิดโรค

และหลังจากรายงานนี้มีการศึกษาทยอยตามกันมา จนเป็นที่ยอมรับว่าความเครียดเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอัมพฤกษ์ได้

blank