ตำรวจไซเบอร์ทลายเครือข่ายหลอกลงทุนคริปโท P Miner ยึดทรัพย์สินทั้งรถหรู แบรนด์เนม รวมถึงอุปกรณคอมฯที่เอาไว้ขุด

1706

ตำรวจไซเบอร์ทลายเครือข่ายหลอกลงทุนคริปโท P Miner ยึดทรัพย์สินทั้งรถหรู แบรนด์เนม รวมถึงอุปกรณคอมฯที่เอาไว้ขุด

วันที่ 6 ก.ย.65 พลตำรวจโท กรชัย คล้ายคลึง ผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี แถลงข่าว การทลายเครือข่ายหลอกลงทุน P Miner ซึ่งบื้องต้นตรวจยึดของกลางที่เชื่อว่าได้มาจากการกระทำความผิดหลายรายการ อาทิเช่น รถยนต์ ยี่ห้อ เบนท์ลี่ย์ เบนเทย์ก้า, ยี่ห้อ ลัมบอร์กีนี ฮูราคาน, ยี่ห้อ เฟอร์รารี่ สไปเดอร์, ยี่ห้อพอร์เชอ 718 บ็อกสเตอร์, ยี่ห้อ บีเอ็มดับเบิลยู เอ็กซ์โฟร์, รถจักรยานยนต์ยี่ห้อ ฮาร์ลีย์ เดวิดสัน, เครื่องขุดเหรียญดิจิทัล 50 เครื่อง อีกทั้งยังสามารถอายัดเงินในบัญชีของขบวนการผู้ต้องหาได้ 117 บัญชี อายัดเงินในบัญชีได้กว่า 112 ล้านบาท เป็นของกลางที่ตำรวจ สืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือตำรวจไซเบอร์ ยึดได้ หลังเข้าตรวจค้นบ้านพักใน จังหวัดเชียงใหม่ของ เครือข่ายนายกิติกร CEO ของห้างหุ้นส่วนจำกัด พี มายเนอร์ คริปโคเคอร์เรนซี่ กรุ๊ป
aj4bVb.jpg
พลตำรวจโท กรไชย คล้ายคลึง ผู้บัญชาการ สอท. เปิดเผยว่า คดีนี้ได้รับการร้องเรียนจากประชาชน ที่ถูกชักชวนให้สมัครเป็นสมาชิก และร่วมลงทุนจุดเหรียญและเทรดเหรียญคริปโตเคอร์เรนซี เครือข่าย หลอกลงทุน P Miner ตามโครงการต่างๆ มากกว่า 30 โครงการ โดยมีการอ้างว่า ผู้ที่ลงทุนเป็นเงินจำนวน 50000 บาท จะได้รับการคืนทุน 5 ครั้ง ทุกวันที่ 6 ของเดือนโดยแบ่งเป็นงวดๆ ละ8,000 บาท 13,000 บาท 16,000 บาท 20,000 บาท และ 24,000 บาท ตามลำดับ รวมเป็นเงิน 80,000 บาท บางโครงการอ้างว่าได้กำไรมากถึงร้อยละ 82 ต่อเดือน หรือได้กำไรร้อยละ 1,000 ต่อปี ซึ่งสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายจะพึงจ่ายได้
aj4Qw1.jpg
จากนั้นเมื่อผู้เสียหายหลงเชื่อโอนเงินไปแล้ว ก็จะได้รับหนังสือ สัญญาการลงทุนซึ่งในสัญญาจะระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการลงทุนไม่ว่าจะเป็น ชื่อโครงการที่ลงทุน จำนวนเงินที่ลงทุน นะยะเวลาที่ลงทุน จำนวนครั้งและจำนวนผลตอบแทนที่จะได้รับเงินกลับมา เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือว่ามีการลงทุนจริง ทั้งนี้ในช่วงแรกของการเริ่มลงทุน ผู้เสียหายจะได้รับผลตอบแทนกลับมาบางส่วนจริงต่อมาเมื่อเดือน ส.ค.65 ผู้เสียหายไม่ได้รับเงินปันผลจากการลงทุนแต่อย่างมด ผู้ต้องหาอ้างเหตุขัดข้อง ต่างๆ และไม่สามารถติดต่อได้ในเวลาต่อมา ผู้เสียหายเชื่อว่าถูกหลอกลวงจึงมาแจ้งความดำเนินคดีกับผู้ต้องหาตามกฎหมาย
ซึ่งผู้ต้องหายังอยู่ระหว่างการหลบหนีหมายจับของศาลอาญาในข้อหาร่วมกันฉ้อโกงประชาชน รวมทั้งข้อหาร่วมกันโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวง นำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จตามพรบ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14(1)
aj4gig.jpg
aj4iuW.jpg
aj4RI2.jpg
aj4Uoy.jpg
aj4qJD.jpg
aj4Eh9.jpg
aj4O5J.jpgaj4lYf.jpg