เอไอเอส จับมือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ร่วมขับเคลื่อนนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการแพทย์สวนดอก

65

เอไอเอส จับมือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ร่วมขับเคลื่อนนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการแพทย์สวนดอก

3 กันยายน 2565: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกับ บริษัทแอดวานซ์ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด เสริมความแข็งแกร่งการแพทย์ระดับสากล ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ขับเคลื่อนพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Health Tech Innovation) และการลงทุนเชิงเศรษฐกิจ กระจายความเจริญด้านการแพทย์ และการวิจัยสู่ภูมิภาค

1f2670ae2db74422e33b830a9c93a114.jpg

นายอาทยา หยู่เย็น หัวหน้างานปฏิบัติการภูมิภาค-ภาคเหนือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส กล่าวว่า “ปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตประจำวันของเรา ในทุกๆด้าน เอไอเอส ในฐานะผู้ให้บริการ Digital Life Service Provider เรามีเจตนารมณ์ในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลซึ่งเป็นศักยภาพของเรามาร่วมสร้างประโยชน์และคุณค่าที่ยั่งยืนให้แก่สังคมและประเทศชาติ โดยเฉพาะด้านสาธารณสุข ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของประเทศ แม้ว่าวันนี้ประเทศไทยจะมีบริการ 5G เชิงพาณิชย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 โดย AIS เป็นรายแรกที่เปิดให้บริการด้วยการมีคลื่นความถี่มากที่สุดคือ 1420 MHz แต่ประโยชน์ของ 5G ยังจะต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อยกระดับภาคอุตสาหกรรมและสาธารณูปโภคพื้นฐานของประชาชน โดยเฉพาะในส่วนของ Digital Transformation ที่จะพลิกโฉม Business Model ของทุกภาคส่วนให้พร้อมกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจาก Digital Disruption และการเกิดขึ้นของโควิด ดังนั้นการทำงานร่วมกับภาคสาธารณสุข เพื่อพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการแพทย์ จึงเป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญสูงสุดเสมอมา”

cba9f429283afb0147bea45df353dc18.jpg

ศาสตราจารย์เชี่ยวชาญพิเศษ นายแพทย์ บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า “ย่านนวัตกรรมการแพทย์สวนดอก (Suandok Medical Innovation District) หรือ SMID จัดตั้งขึ้นโดยคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์กรมหาชน) หรือ NIA เพื่อทำหน้าที่ขับเคลื่อนการพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่ (Area-Based Innovation) โดยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ มหาวิทยาลัย ผู้ประกอบการภาคเอกชน (SMEs/Start Up) และประชาชนผู้สนใจ เพื่อให้เกิดการพัฒนานวัตกร และการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ จากการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยความร่วมมือนี้ เชื่อมั่นว่า การผนึกกำลังความแข็งแกร่งด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ของเอไอเอส ร่วมกับ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์กรมหาชน) หรือ NIA จะเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการลงทุนเชิงเศรษฐกิจ และกระจายความเจริญทางการแพทย์ และการวิจัยสู่ภูมิภาค อันจะเสริมศักยภาพอุตสาหกรรมด้านสุขภาพของประชาชนให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน”

04f52e19d9da14d6c68b04582b2daa23.jpg