นายกฯ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา ณ ประตูระบายน้ำแม่ตะมาน อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

806

นายกฯ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา ณ ประตูระบายน้ำแม่ตะมาน อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

วันที่ 29 มิ.ย. 65 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นากยกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมคณะลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าโครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา ณ ประตูระบายน้ำแม่ตะมาน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี นายประจญ ปรัชญ์สกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วย นายศักดิ์ชัย คุณานุวัฒน์ชัยเดช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และส่วนราชการ ให้การต้อนรับ

49c93754cf630e7daed6a8b6d55e19d0.jpg

ประตูระบายน้ำแม่ตะมาน เป็นต้นทางของอุโมงค์ส่งน้ำ ระยะทาง 46 กิโลเมตร จากลำน้ำแม่แตงไปยังเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล และจากเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชลไปสู่เขื่อนแม่กวงอุดมธารา เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนของเขื่อนแม่กวงอุดมธาราอีก 160 ล้าน ลบ.ม./ปี  เนื่องจากที่ผ่านมาเขื่อนแม่กวงอุดมธารามีปริมาณน้ำปีละประมาณ 200 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งยังไม่เต็มศักยภาพของอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณกักเก็บ 263 ล้านลบ.ม. ประกอบกับการขยายตัวของเขตเมืองและความต้องการใช้น้ำของประชาชน รวมถึงช่วยแก้ปัญหาอุทกภัยในฤดูน้ำหลากที่ ลำน้ำแม่แตงจะมีปริมาณน้ำมาก  โครงการเพิ่มปริมาณน้ำ อ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่ แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 2 ช่วง 4 สัญญาการก่อสร้าง ภายใต้งบประมาณรวมกว่า 15,000 ล้านบาท ประกอบด้วย อุโมงค์ส่งน้ำช่วงแม่แตง – แม่งัด และประตูระบายน้ำแม่ตะมาน มีอุโมงค์ผันน้ำส่วนเกินจากลำน้ำแม่แตงถึงเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล เส้นผ่านศูนย์กลาง 4 เมตร ความยาว 25 กิโลเมตร ส่งน้ำได้สูงสุด 28.5 ลบ.ม.ต่อวินาที และ อุโมงค์ส่งน้ำช่วงแม่งัด – แม่กวง เส้นผ่านศูนย์กลาง 4.2 เมตร ความยาว 22 กิโลเมตร ส่งน้ำได้สูงสุด 26 ลบ.ม./วินาที โดยทั้งสองช่วงจะผันน้ำลงสู่อ่างเก็บน้ำแม่กวงอุดมธาราในช่วงฤดูฝนได้รวมกว่า 160 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี  ซึ่งล่าสุดแล้วไปแล้วกว่าร้อยละ 69

45ae1b0ef7430cec25d5d3efc08a20c7.jpg

ล่าสุดที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2565 อนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินโครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อน แม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่ ออกไป อีก 5 ปี สิ้นสุดโครงการปี 2570 โดยเมื่อโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จ จะรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจ พื้นที่การเกษตร เมืองเชียงใหม่ รวมทั้งในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมเมืองลำพูน เพื่อบรรเทาปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง ช่วยเหลือพื้นที่ เกษตรได้ถึง 76,129 ไร่

ข่าว-ภาพ : ทีมข่าวกรมประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่

679fb5a16c57f1a018c7cb6c6cf2042d.jpg
459b2361744c1c94455c2bc05b04a5a5.jpg
fe7b6f902399975b531c9b36a6bf7d87.jpg
502b7f31f925b7272bbff1b86c613563.jpg
68440b043114d9ea68d45668f224fd19.jpg
12c879b3c70f7e5885cbd436ae21f64e.jpg
70bf00b64bc1224ee96d1d960f9f9075.jpg