เตือนอย่ามองข้าม ปวดท้อง-ท้องผูก คิดว่าอาหารไม่ย่อย ที่แท้ “ลำไส้กลืนกัน” โชคดีพบหมอผ่าตัดได้ทันก่อนที่ลำไส้จะทะลุ

1379

เตือนอย่ามองข้าม ปวดท้อง-ท้องผูก คิดว่าอาหารไม่ย่อย ที่แท้ “ลำไส้กลืนกัน” โชคดีพบหมอผ่าตัดได้ทันก่อนที่ลำไส้จะทะลุ

วันที่ 25 มิ.ย. 65 นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “Arak Wongworachat” เกี่ยวกับ โรคลำไส้กลืนกัน(Intussusception) พบได้ทุกวัย ทั้งเด็กเล็ก เด็กโตและผู้ใหญ่ ล่าสุดได้ยกเคสในรายผู้สูงอายุ 68 ปี ผู้ป่วยจะมาด้วยอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องเป็นพัก ๆ ท้องเสีย ท้องผูกสลับกัน มีอาการติดต่อกันนาน 3 อาทิตย์ คิดว่าตนเองเกิดจากอาหารไม่ย่อย โรคกะเพาะ จนในที่สุดต้องเข้าโรงพยาบาลสิชล แพทย์ห้องฉุกเฉิน เห็นว่าผู้ป่วยเป็นผู้สูงอายุ และเป็นมานาน ควรจะได้รับการตรวจ วินิจฉัยโดยละเอียด จึงปรึกษาอายุรแพทย์ ศัลยแพทย์และรังสีแพทย์ ไปพร้อมๆกัน จนได้ภาพรังสีจากเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ออกมา พบว่ามีส่วนของลำไส้เล็กส่วนปลายกลืนกัน จึงวางแผนรักษาโดยการผ่าตัดทันที

909c86fbcaa2bc504ff5c3a1b5af409b.jpgเป็นโชคดีที่ได้รับการผ่าตัดก่อนที่ลำไส้จะทะลุ หากผ่าตัดไม่ทันเวลา จะทำให้เกิดการอุดตันของลำไส้ ลำไส้ส่วนที่อุดตัน ถูกบีบรัดกัน จนขาดเลือดไปเลี้ยง ส่งผลให้เนื้อเยื่อลำไส้เน่าตาย หากไม่ได้รับการรักษาผ่าตัดส่วนที่เน่าออก และตัดต่อลำไส้ใหม่ จะนำไปสู่การทะลุและฉีกขาดของผนังลำไส้ จนเกิดการติดเชื้อในช่องท้อง ติดเชื้อในกระแสเลือดและเสียชีวิตได้ในที่สุด หมั่นใส่ใจ ดูแลสุขภาพกันนะครับ

สาเหตุของลำไส้กลืนกัน ทางการแพทย์ยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิด ลำไส้กลืนกันได้ แต่การเกิดโรคลำไส้กลืนกันในเด็กอาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส ลำไส้อักเสบ การผ่าตัดลำไส้ มีติ่งเนื้อหรือก้อนเนื้องอกในลำไส้ ที่ส่งผลให้ลำไส้เคลื่อนตัวผิดปกติ ในกรณีของเด็กโตและผู้ใหญ่อาจมีสาเหตุมาจากพังผืดในลำไส้ การผ่าตัดที่เกี่ยวข้องกับลำไส้ การติดเชื้อจากโรคต่างๆ

c63db87627503055649fa078fa8772b8.jpgcb4882dceb874fd7c3323c468d70fd8e.jpg801ac3b60e87896e6b7147d184cf459d.jpg