อุทยานวิทย์ฯ ภาคเหนือจัดใหญ่ เปิดตัวสตาร์ทอัพแพลตฟอร์ม “Basecamp24” ประกาศความพร้อมปั้นผู้ประกอบการสตาร์ทอัพทุกระดับ แวดล้อมด้วย Startup Ecosystem สมบูรณ์แบบ ครบวงจร 24 ชั่วโมง

163

อุทยานวิทย์ฯ ภาคเหนือจัดใหญ่ เปิดตัวสตาร์ทอัพแพลตฟอร์ม “Basecamp24” ประกาศความพร้อมปั้นผู้ประกอบการสตาร์ทอัพทุกระดับ แวดล้อมด้วย Startup Ecosystem สมบูรณ์แบบ ครบวงจร 24 ชั่วโมง

อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือสานฝันสตาร์ทอัพไทย จัดพิธีเปิดตัวสตาร์ทอัพแพลตฟอร์ม “Basecamp24” อย่างยิ่งใหญ่ พร้อมเป็นกลไกสำคัญขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ พัฒนาศักยภาพ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการทุกระดับด้วยโปรแกรมบ่มเพาะธุรกิจอย่างสมบูรณ์แบบ แวดล้อมด้วย Startup Ecosystem แบบครบวงจร 24 ชั่วโมง ในพื้นที่อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่)

วันที่ 31 มีนาคม 2565 อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จ.เชียงใหม่) จัดพิธีเปิดตัวสตาร์ทอัพแพลตฟอร์ม “Basecamp24” แสดงความพร้อมในการเป็นแหล่งบ่มเพาะสตาร์ทอัพสมบูรณ์แบบที่สุดในภาคเหนือ โดยมีอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (STeP) เป็นหัวหอกสำคัญในการขับเคลื่อนในฐานะมหาวิทยาลัยแม่ข่ายดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ ในการนี้ ศ.คลินิก นพ.นิเวศน์ นันทจิต อธิการบดีมหาวิทยาลัย เชียงใหม่ ให้เกียรติเป็นประธาน โดยมีนางสาวทิพวัลย์ เวชชการัณย์ ผู้อำนวยการกลุ่มอุทยานวิทยาศาสตร์ กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) และคณะ พร้อมด้วยผู้บริหารจากเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ หน่วยงานพันธมิตร นักลงทุน ผู้ประกอบการสตาร์ทอัพร่วมงานอย่างคับคั่ง ณ NSP Rice Grain Auditorium อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่)

106040.jpg
106038.jpg
106037.jpg
106039.jpg
106033.jpg
106030.jpg
106036.jpg
106031.jpg
106028.jpg
106035.jpg
106023.jpg
106026.jpg
106024.jpg
106020.jpg
106016.jpg
106013.jpg
106014.jpg
106043.jpg
106044.jpg
106042.jpg
IMG_6426.jpg
IMG_6425.jpg
IMG_6424.jpg
IMG_6423.jpg
IMG_6421.jpg
IMG_6415.jpg

สำหรับภายในงานได้จัดให้มีการรับชม VDO Clip แนะนำพื้นที่รองรับ Basecamp24 พร้อม Live สดชมพื้นที่จริง รับชมตัวอย่าง Flash Pitching เส้นทางการเติบโตจากการบ่มเพาะของ Basecamp24 รุ่นพี่และรุ่นปัจจุบัน นอกจากนี้ภายนอกอาคารยังจัดพื้นที่กิจกรรม อาทิ showcase จาก startup และบริการเสริมต่าง ๆ ของอุทยานฯ เวทีเสวนาฟังบรรยายจากกลุ่มนักลงทุน ฯลฯ ซึ่งนับเป็นตัวอย่างผลงานและบริการที่อุทยานฯ ภาคภูมิใจ
ผศ.ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า Basecamp24 คือการสร้างผู้ประกอบการที่มีศักยภาพและพร้อมผลักดันผู้ประกอบการให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยมีอุทยานฯ คอยเป็นพี่เลี้ยงนำทางในทุกเส้นทางการเติบโตแบบ 24 ชั่วโมง เพื่อไปสู่เป้าหมายสูงสุดอย่างรวดเร็ว ด้วยกระบวนการบ่มเพาะ พัฒนาศักยภาพ ซึ่งนับเป็นการจุดประกายไอเดียต่าง ๆ ให้เหล่านักธุรกิจกระทั่งได้ลงมือทำจริง ผ่านการอบรมสร้างองค์ความรู้ ให้คำปรึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญ การจับคู่กับแหล่งทุน สร้างเครือข่ายธุรกิจ พร้อมมอบโอกาสต่าง ๆ ในการเติบโต นอกจากนี้ยังแวดล้อมด้วยระบบนิเวศที่เอื้อต่อการสร้างสตาร์ทอัพอย่างพื้นที่ทำงาน (Startup Space) อย่างครบครัน ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ไอเดีย (The Brick Series) พื้นที่สร้างสรรค์ตัวอย่าง การขึ้นรูปชิ้นงาน (The Brick FABLAB) พื้นที่สำนักงาน (Office Space) ซึ่งรองรับสตาร์ทอัพในทุกระดับการเติบโต ฯลฯ โดยจัดแบ่ง Basecamp ออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้ Ground camp: Wonderer จะเน้นเรื่องการสร้างแรงจูงใจและสร้างความตระหนักในการเป็นผู้ประกอบการ โดย Camp 1: Bootstrapper เป็นการเน้นให้องค์ความรู้เพื่อสร้างความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการคิดสร้างไอเดียการทำธุรกิจที่ตอบโจทย์ Pain Point และเป็นที่ต้องการของตลาด สำหรับ Camp 2: Explorer เน้นกระบวนการลงมือทำเพื่อเรียนรู้การทำธุรกิจตามวิถีของ Startup ผ่านการพิสูจน์และสำรวจความต้องการของตลาด (Market Validation) เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิจัยและพัฒนาสินค้าหรือบริการให้สามารถขายได้จริงและพัฒนาเป็นแผนธุรกิจที่เติบโตได้ต่อไป Camp 3: Challenger เน้นเรื่องการขยายตลาด (Scale up) หลังจากพิสูจน์แล้วใน Camp 2 โดยจะเน้นกระบวนการวางแผนธุรกิจ กลยุทธ์ วิธีการต่าง ๆ ที่สามารถขยายตลาดของสินค้าหรือบริการนั้นได้ ซึ่งนับเป็นการวางรากฐานโครงสร้างต่าง ๆ ทั้งการเงิน กำลังคน (Team) และการบริหารจัดการ เพื่อให้พร้อมก่อนที่จะเข้าสู่ Camp 4: Survivor ซึ่งจะเน้นในเรื่องของการลงทุน ไม่ว่า จะเป็นการหานักลงทุน การเจรจาร่วมลงทุน (Partner) กับบริษัทหรือองค์กรต่าง ๆ ที่จะสามารถสนับสนุนธุรกิจให้เติบโตได้อย่างก้าวกระโดดและเป็นธุรกิจที่ยั่งยืนต่อไป
ผศ.ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ ยังกล่าวต่อไปอีกว่า STeP ในฐานะผู้รับรางวัลหน่วยบ่มเพาะ (Incubator) ระดับเอเชีย ตั้งเป้าเป็นหน่วยบ่มเพาะแนวหน้ามีศักยภาพในการสร้างผู้ประกอบการ Startup ผ่านกระบวนการ กลไกการเชื่อมโยงโอกาสต่าง ๆ ไปพร้อมกับการสร้างระบบนิเวศ (Startup Ecosystem) ที่เอื้อให้ผู้ประกอบการ Startup ในพื้นที่ภาคเหนือที่อยู่ในระบบการฟูมฟักของอุทยานฯ ได้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีศักยภาพและยั่งยืน โดยนำองค์ความรู้จากรั้วมหาวิทยาลัยสู่การสร้างผู้ประกอบการที่สามารถสร้างมูลค่าทางธุรกิจให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยคาดว่าภายในปี 2570 จะสามารถสร้างมูลค่าธุรกิจของผู้ประกอบการได้ถึง 18,000 ล้านบาท พร้อมสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจ เกิดการจ้างงานในท้องถิ่น กระจายรายได้สู่พื้นที่ภาคเหนือรวมถึง 26,640 ล้านบาท โดยอุทยานฯ มีแผนโครงการ กิจกรรมต่าง ๆ รองรับอีกมากอย่างกิจกรรม Startup’s day กิจกรรม Hackathon เป็นต้น เพื่อให้ผู้ประกอบการใน Basecamp24 ได้ต่อยอดธุรกิจของตนเองไปสู่ความสำเร็จ
ด้าน ศ.คลินิก นพ.นิเวศน์ นันทจิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวเสริมว่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในฐานะแม่ข่ายดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือได้รับการสนับสนุนด้วยดีมาตลอดจากกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) โดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในการส่งเสริมการนำทรัพยากรและองค์ความรู้ที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัยออกมาต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์
โดยมหาวิทยาลัยมียุทธศาสตร์การบริหาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2562 – 2565)
ซึ่ง Basecamp24 นี้จะสามารถตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ที่ 5 ของมหาวิทยาลัย ในการเป็นยุทธศาสตร์ที่นำทรัพยากรที่มีอยู่ของมหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็น บุคลากร นักศึกษา รวมถึงงานวิจัย มาบูรณาการร่วมกันโดยประยุกต์สร้างนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และสังคม โดยมหาวิทยาลัยพร้อมผลักดันให้นักศึกษาของมหาวิทยาลัยได้เรียนรู้การเริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการ รวมถึงการทำธุรกิจ Startup ให้ประสบผลสำเร็จ ตลอดจนจะร่วมกันแก้ปัญหาและพัฒนาทั้งในเชิงเศรษฐกิจและสังคมของภาคเหนือได้อย่างยั่งยืน