กสศ. เผยปี 2564 ไทยมีนักเรียนยากจนพิเศษพุ่งถึง 1.24 ล้านคน พร้อมเผย 10 จังหวัด ที่มีนักเรียนยากจน-จนพิเศษมากที่สุด

368

กสศ. เผยปี 2564 ไทยมีนักเรียนยากจนพิเศษพุ่งถึง 1.24 ล้านคน พร้อมเผย 10 จังหวัด ที่มีนักเรียนยากจน-จนพิเศษมากที่สุด

?กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เผยข้อมูลแสดงจำนวนนักเรียนยากจนและยากจนพิเศษในปีการศึกษา 2/2560 – 1/2564 โดยพบว่าในปีกาศึกษาที่ 1/2564 มีนักเรียนยากจนจำนวน 574,412 คน และมีนักเรียนยากจนพิเศษ 1,244,591 คน

blank

โดยข้อมูลนักเรียนทั้งหมดในปีการศึกษา 1/2564 เมื่อนำไปจำแนกตามค่าน้ำหนักตัวแทนรายได้ (PROXY MEANS TEST: PMT) ในแต่ละภูมิภาค ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะได้ประเภทของนักเรียนเป็นไม่จน ยากจน และยากจนพิเศษ นอกเหนือจากการนำไปจำแนกตาม PMT ข้อมูลนักเรียนทั้งหมดในปีการศึกษา 1/2564 สามารถนำมาจำแนกประเภทของนักเรียนออกเป็นนักเรียนยากจนที่ลงทะเบียนขอรับเงินอุดหนุนของ สพฐ และนักเรียนยากจนที่ผ่านการคัดกรองตามเกณฑ์ตัวแทนรายได้ (PMT) โดยนักเรียนเหล่านี้ล้วนแต่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ และขนาดใหญ่พิเศษ

10 จังหวัดที่มี นร.ยากจน+จนพิเศษ มากที่สุด ปี 1/2564
1. อุบลราชธานี 98,163 คน
2. ศรีสะเกษ 86,519 คน
3. บุรีรัมย์ 85,715 คน
4. สุรินทร์ 68,767 คน
5. สกลนคร 65,636 คน
6. ขอนแก่น 65,190 คน
7. ร้อยเอ็ด 64,118 คน
8. นราธิวาส 60,703 คน
9. นครราชสีมา 59,470 คน
10. เชียงใหม่ 54,881 คน

เกณฑ์ความจนของ กสศ.
-นักเรียนยากจน คือ อยู่ในครัวเรือนที่สมาชิกมีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน หรือ 3,000 บาท/คน/เดือน ดังนั้น แม้ค่าเรียนจะฟรีแต่ค่าอื่นๆ อีกจิปาถะ จะทำให้ครอบครัวต้องแบกรับค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของบุตรหลานสูงถึง 22% ของรายได้ หรือเกือบ 1 ใน 4

-นักเรียนยากจนพิเศษ คือ อยู่ในครัวเรือนที่สมาชิกมีรายได้เฉลี่ย 1,332 บาท/คน/เดือน ขณะที่ภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา (ไม่รวมค่าเดินทาง) ของนักเรียนไทยอยู่ที่ 1,195-4,829 บาทต่อหัวต่อเทอม