วัคซีนโควิด-19 ในสตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร แพทย์เตือน อาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นในสตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อโควิด-19 มีความรุนแรงมากกว่าคนทั่วไป พร้อมแนะให้ฉีดวัคซีน เพื่อ ป้องกันความรุนแรงของโรค

89

วัคซีนโควิด-19 ในสตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร แพทย์เตือน อาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นในสตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อโควิด-19 มีความรุนแรงมากกว่าคนทั่วไป พร้อมแนะให้ฉีดวัคซีน เพื่อป้องกันความรุนแรงของโรค

blank

อาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นในสตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อโควิด-19 มีความรุนแรงมากกว่าคนทั่วไป
>> จากข้อมูลของประเทศไทยพบว่า สตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อโควิด-19 มีความรุนแรงของโรคสูงกว่าประชากรทั่วไป ส่งผลให้มีอัตราเสียชีวิตสูงกว่าทั่วไปถึงเกือบ 3 เท่า ต้องเข้ารับการรักษาในห้องผู้ป่วยวิกฤต( ไอซียู)มากกว่า ต้องใส่ท่อช่วยหายใจมากกว่า จึงมีความสำคัญมากในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ในสตรีตั้งครรภ์
ในการฉีดวัคซีนให้แก่สตรีตั้งครรภ์นั้น มีโอกาสจะเกิดผลข้างเคียงได้เท่ากับประชาชนทั่วไปที่ได้รับวัคซีน ไม่ว่าจะเป็นอาการไข้ อ่อนเพลีย ปวดตำแหน่งที่ฉีด ซึ่งพบได้เป็นปกติ ไม่ได้พบมากกว่าคนปกติ
ข้อดีของการฉีดวัคซีนก็คือ ป้องกันความรุนแรงของโรคหากติดเชื้อทั้งตัวสตรีตั้งครรภ์ และลดผลกระทบต่อทารกในครรภ์ อีกทั้งยังป้องกันการติดเชื้อได้ด้วย แม้ว่าจะไม่สามารถป้องกันได้ทั้งหมดก็ตาม ซึ่งข้อดีนี้เป็นการแนะนำโดยองค์กรวิชาชีพทั้งในระดับชาติและระดับโลกว่าสตรีตั้งครรภ์และสตรีที่ให้นมบุตรควรได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19
ถ้าสตรีตั้งครรภ์ท่านใดไม่มีข้อห้ามในการให้วัคซีน เช่น มีประวัติเคยแพ้วัคซีนมาก่อนแนะนำให้ฉีดวัคซีนทุกคน โดยแนะนำให้ฉีดหลังจากตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป และสามารถฉีดวัคซีนที่มีใช้ในประเทศไทยได้ทุกชนิดซึ่งไม่มีความแตกต่างมากนักในเรื่องผลข้างเคียง เช่น Sinovac, Sinopharm, AstraZeneca, Pfizer รวมทั้งการฉีดวัคซีนไขว้ชนิด เป็นต้น และเนื่องจากสตรีตั้งครรภ์จำเป็นที่จะต้องได้รับวัคซีนชนิดอื่นๆ ด้วย แพทย์ผู้ทำการรักษาก็จะเป็นผู้พิจารณาลำดับของการให้วัคซีนก่อนหลัง
“การดูแลตัวเองไม่ว่าจะก่อนหรือหลังได้รับวัคซีนในสตรีตั้งครรภ์ ควรจะปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัด ไม่เข้าไปอยู่ในที่ชุมชนที่เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อ เว้นระยะห่าง ล้างมือบ่อยๆ และใส่หน้ากาก ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติถึงแม้ว่าจะได้หรือไม่ได้รับวัคซีนก็ตาม”
ข้อมูลโดย : รศ.นพ.ชเนนทร์ วนาภิรักษ์
หัวหน้าหน่วยเวชศาสตร์มารดาและทารก
ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มช.
ประธานคณะอนุกรรมการอนามัยแม่และเด็ก
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย
และนายกสมาคมเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ (ไทย)
ลิ้งค์บทความ : https://www.facebook.com/medcmuth/posts/4393301504041505