กลุ่มประชาชนอนุรักษ์และพิทักษ์สิ่งแวดล้อมไทย และกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเชียงใหม่ ยื่นหนังสือคัดค้านญี่ปุ่น  ทบทวนหรือยกเลิกการปล่อยน้ำปนเปื้อนจากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ลงสู่มหาสมุทร   หวั่นสร้างความเสียหายแก่สิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศวิทยาทางทะเลอย่างรุนแรง 

179

กลุ่มประชาชนอนุรักษ์และพิทักษ์สิ่งแวดล้อมไทย และกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเชียงใหม่ ยื่นหนังสือคัดค้านญี่ปุ่น  ทบทวนหรือยกเลิกการปล่อยน้ำปนเปื้อนจากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ลงสู่มหาสมุทร   หวั่นสร้างความเสียหายแก่สิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศวิทยาทางทะเลอย่างรุนแรง 

blank

กลุ่มประชาชนอนุรักษ์และพิทักษ์สิ่งแวดล้อมไทย และกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเชียงใหม่ ร่วมต้านค้านพี่ยุ่น ปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิ ที่ผ่านการบำบัดแล้ว ลงสู่ทะเลในปี 2565 หวั่นปล่อยทริเทียมสู่สิ่งแวดล้อม สร้างความเสียหายแก่สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศวิทยาทางทะเล

blank

เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 8 มิถุนายน 2564 กลุ่มประชาชนอนุรักษ์และพิทักษ์สิ่งแวดล้อมไทย ยื่นหนังสือ ขอให้ทบทวนหรือยกเลิกการปล่อยน้ำปนเปื้อนจากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ลงสู่มหาสมุทร ให้กับฯพณฯ เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งญี่ปุ่น ประจำราชอาณาจักรไทย

blank

ทั้งนี้จากกรณีที่รัฐบาลญี่ปุ่นมีมติให้ดำเนินการตามความเห็นของคณะทำงานของบริษัทผลิตบริษัทพลังงานไฟฟ้าโตเกียว หรือเทปโก (Tokyo Electric Power Co. Holdings Inc.) ในการปล่อยน้ำปนเปื้อนจากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ในฟุกุชิมะมากกว่า 1 ล้านตันลงสู่มหาสมุทรภายใน 2 ปี หลังจากเก็บกักไว้นานเป็นสิบปี นับตั้งแต่เหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิครั้งใหญ่เมื่อเดือนมีนาคม 2011 โดยน้ำปนเปื้อนเหล่านี้ถูกสูบออกมาผ่านระบบแปรรูปขั้นสูง (Advanced Liquid Processing System-ALPS) แล้วเก็บไว้ในแทงก์น้ำกว่า 1,000 แทงก์ กระบวนการบำบัดน้ำด้านระบบแปรรูปขั้นสูง แม้จะเอากัมมันตรังสีปนเปื้อนออกไปได้บางส่วน แต่เทคโนโลยีนี้ยังไม่สามารถขจัดสารกัมมันตรังสีทริเทียมหลงเหลืออยู่ให้หมดไปได้

การกระทำของญี่ปุ่นดังกล่าวข้างต้นเป็นไปท่ามกลางเสียงคัดค้านและความวิตกกังวลต่อการตัดสินใจดังกล่าวจากนานาประเทศ เช่น เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน จีน และรัสเซีย ตลอดทั้งกลุ่มกรีนพีซ องค์กรรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม และชาวประมงในญี่ปุ่นเอง โดยต่างออกมาแสดงความคิดเห็นสอดคล้องกันว่า สารปนเปื้อนที่ยังหลงเหลืออยู่จะสร้างความเสียหายแก่สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศวิทยาทางทะเล ดังนั้น กลุ่มประชาชนอนุรักษ์และพิทักษ์สิ่งแวดล้อมไทย จึงขอร่วมแสดงความไม่เห็นด้วยต่อการที่รัฐบาลญี่ปุ่นตัดสินใจพิจารณาให้ดำเนินการปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิ ที่ผ่านการบำบัดแล้ว ลงสู่ทะเลในปี 2565 ดังนี้

– สารกัมมันตรังสีทริเทียม คือไอโซโทปหนึ่งของไฮโดรเจนประกอบด้วยนิวตรอน 2 ตัว เป็นเชื้อเพลิงที่จะทำให้เกิดปฏิกิริยาฟิวชั่น จากข้อมูลของคณะกรรมการควบคุมนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ ระบุว่า ทริเทียมมีความสามารถแบบเดียวกับไฮโดรเจนธรรมดา คือสามารถจับกับออกซิเจนจนกลายเป็นน้ำได้ ทำให้เกิดน้ำที่เป็นกัมมันตภาพรังสีเรียกว่า “ทริเทรต วอเตอร์” มีคุณสมบัติทางเคมีเหมือนกับน้ำธรรมดาและทริเทียมไม่สามารถกรองออกจากน้ำได้ แม้ว่าทริเทียมจะไม่สามารถทะลุผ่านผิวหนังได้ แต่อาจเข้าสู่ร่างกายได้ผ่านการกินหรือสูดดม อีกทั้งหลังจากปล่อยลงสู่มหาสมุทรย่อมไปสะสมในแพลงก์ตอนและปลาต่างๆ จะเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ผ่านผลิตภัณฑ์อาหารทะเล หากเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากอาจกลายเป็นสารที่สร้างความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง , การเปลี่ยนแปลงดีเอ็นเอของมนุษย์ ดังนั้น การปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีลงสู่ทะเล เป็นความเสี่ยงต่อสภาพแวดล้อมทางทะเล และความปลอดภัยด้านสุขภาพของประชากรโลกซึ่งไม่ควรต้องมาเสี่ยงกับเหตุการณ์เช่นนี้ด้วย แม้จะเป็นความเสี่ยงเพียงแค่ 0.0000001% ก็ตาม

จึงขอให้ญี่ปุ่นคำนึงถึงผลกระทบของกัมมันตรังสี เนื่องจากที่ผ่านมาญี่ปุ่นมักจะออกมาเรียกร้องให้นานาประเทศมีความรับผิดชอบในประเด็นต่างๆ และตอนนี้เป็นเวลาที่ประชาคมโลกกำลังจับตามองการแสดงความรับผิดชอบของญี่ปุ่น เนื่องจากการปล่อยน้ำกัมมันตรังสีลงสู่ทะเลเป็นประเด็นร้ายแรงที่ญี่ปุ่นจะปิดหูปิดตา ทำเป็นไม่รับรู้ไม่ได้ จะต้องให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์สิงแวดล้อม หลักสิทธิมนุษยชนและกฎหมายพาณิชยนาวีระหว่างประเทศด้วย เพราะผลเสียย่อมหวนกลับคืนสู่มวลมนุษย์นั่นเองด้วยความตระหนักดังกล่าวข้างต้น กลุ่มประชาชนอนุรักษ์และพิทักษ์สิ่งแวดล้อมไทย จึงขอร่วมแสดงความไม่เห็นด้วยและคัดค้านประเทศญี่ปุ่นที่พิจารณาปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิ ที่ผ่านการบำบัดแล้ว ลงสู่ทะเลในปี 2565

โดยแหล่งข่าวจากทางจังหวัดเชียงใหม่ ระบุว่า มีกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหลายกลุ่มแสดงความไม่เห็นด้วยกับการที่รัฐบาลญี่ปุ่นพิจารณาให้ดำเนินการ ปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิ ที่ผ่านการบำบัดแล้ว ลงสู่ทะเลในปี 2565 เนื่องจากกังวลผลกระทบจากการปล่อยทริเทียมสู่สิ่งแวดล้อม
ขณะที่ผศ. ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ประเทศไทยไม่มีปัญหาแน่นอน ด้วยระยะทางความไกลจากญี่ปุ่นถึงไทย ทำให้สารปนเปื้อนในน้ำคงลอยมาไม่ถึง แต่ประเทศที่จะได้รับผลกระทบ คือ ประเทศที่อยู่ใกล้ เช่น จีน เกาหลี ฟิลิปปินส์ เวียดนาม เขมร ตามระยะทาง เช่นเดียวกันสารที่ลอยในน้ำก็คงไม่ไปไกลถึงอเมริกาเหมือนกัน

blank

blank

โดยกรณี ญี่ปุ่นปล่อยน้ำปนเปื้อนลงสู่ทะเลนี้ มีสารทริเทียมเป็นไอโซโทปกัมมันตรังสีโดยเกิดการสลายกัมมันตรังสี เนื่องจากมันอยู่โมเลกุลของไฮโดนเจน ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบระบบนิเวศในทะเล ตามทฤษฎี ถ้าเกิดขึ้นจริงประเทศญี่ปุ่นคงรับเคราะห์ก่อนเพื่อน แต่ถ้ามองภาพรวมอาจกระทบเกี่ยวกับอาหารทะเลจากญี่ปุ่น พวกปลาต่างๆ ที่ส่งออกไปทั่วโลก ซึ่งอาจจะลดความเชื่อมั่นให้แก่ประเทศต่างๆทั่วโลกได้

แม้ตามทฤษฎีจะไม่เกิดผลกระทบก็จริง แต่อาจารย์ธรณ์ก็ตั้งคำถามว่า แล้วทำไมประเทศเพื่อนบ้านต้องมาเสี่ยงกับเหตุการณ์นี้ด้วย แม้จะเป็นความเสี่ยงเพียงแค่ 0.0000001% ก็ไม่ควรเสี่ยง และคนบนโลกนี้ก็ไม่ได้เป็นนักวิทยาศาสตร์กันทุกคน เป็นคุณ คุณจะยังกินปลาดิบที่มาจากทะเลญี่ปุ่นอยู่ไหม แต่ผมคงไม่กินแล้วล่ะ

blank