เครือข่ายเชิงปฏิบัติการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของเมืองเพื่อตอบสนองการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส COVID–19 โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับเทศบาลเมืองแม่เหียะในการปฏิบัติการและเป็นพื้นที่สาธารณะต้นแบบ (Sandbox)แห่งแรกของเชียงใหม่

185

เครือข่ายเชิงปฏิบัติการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของเมืองเพื่อตอบสนองการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส COVID–19 โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับเทศบาลเมืองแม่เหียะในการปฏิบัติการและเป็นพื้นที่สาธารณะต้นแบบ (Sandbox)แห่งแรกของเชียงใหม่

S 115925130

โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดการยกระดับการจัดการตนเองในระดับพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการเข้าถึงการตรวจเชื้อไวรัส COVID-19 จากเครือข่ายเชิงปฏิบัติการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของเมืองเพื่อตอบสนองการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส COVID-19 ภายใต้โครงการการจัดการเมืองเชิงระบบในภาวะฉุกเฉินเพื่อรับผลกระทบโรคติดไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ซึ่งมีเป้าประสงค์คือ 1) การ Test COVID scan 2) การจัดทำคู่มือการปฏิบัติของเทศบาลและประชาชน ในการรับมือการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส COVID-19 3) การจัดทำการระดมทุนเพื่อสร้างโครงสร้างสาธารณสุขพื้นฐานในระดับพื้นที่ และ 4) ระบบความร่วมมือระหว่างภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อให้บริการประชนในพื้นที่ สืบเนื่องมาจาก ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 การเข้ารับการตรวจเพื่อคัดกรองผู้ติดเชื้อ มีความจำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่ง เพื่อจะได้วางแผนรับมือกับสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที และปัจจุบันการเข้าถึงการรับบริการตรวจเชื้อยังไม่มีจุดให้บริการในระดับท้องถิ่นของตัวเอง โดยมีกระบวนการเพื่อขับเคลื่อนกลไกและความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ทั้งในพื้นที่และจากส่วนกลาง ซึ่งบทบาทของโครงการนี้ เป็นการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของเมืองเพื่อตอบสนองการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานเครือข่าย ประกอบด้วย บริษัทแอท-ยีนส์ จำกัด เป็นระบบตรวจคัดกรองผู้ติดเชื้อแบบครบวงจร บริษัทเอเวอร์ เมดิคอล เทคโนโลยี จำกัด และบริษัท ทิงค์ เน็ต จำกัด เป็นผู้จัดทำระบบเฝ้าติดตามผู้ที่ผ่านการตรวจเชื้อโควิด และสถาบันทิวา ดำเนินการจัดทำแผนและกลยุทธ์นำไปขยายผลใช้ในพื้นที่อื่น

S 115925143

โดยงานวันนี้ ได้รับเกียรติจากท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัด ท่านรัฐพล นราดิศร นายแพทย์สุรเชษฐ์ อรุโณทอง รองผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่ รศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมด้วย รศ.ดร.พัทธนันท์ หรรษาภิรมย์โชค หัวหน้าโครงการวิจัย นายกเทศมนตรีเมืองแม่เหียะ คุณธนวัฒน์ ยอดใจ ศ.นพ.ดร.วิปร วิประกษิต ผู้บริหารบริษัทแอท-ยีนส์ จำกัด คุณผาณิต ชวชัยชนานนท์ ตัวแทนจากสถาบันทิวา คุณวรานนท์ หรรษ์ไชยาศรี ตัวแทนจากบริษัทเอเวอร์ เมดิคอล เทคโนโลยี จำกัด

S 115925135

สำหรับการดำเนินงาน มี 4 องค์ประกอบ คือ 1) มีการตรวจเชื้อ 2) มีการติดตามผู้ที่เข้ารับการตรวจเชื้อ 3) การดูแลตนเองของประชาชนในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อ เช่น Quarantine Home และ 4) กลไกการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐ เอกชน และประชาชน เพื่อยกระดับและนำไปสู่ทิศทางนโยบายสาธารณะและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมสู่การเป็น COVID Free City เพื่อตอบสนองต่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19
การปฏิบัติการครั้งนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของชุดโครงการวิจัย ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงพื้นที่โดยมีกระบวนการการทำงานร่วมกัน ที่ทำให้เห็นผลเชิงประจักษ์ โดยการนำความรู้และเทคโนโลยีมาใช้เพื่อทำให้เกิดการยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน ขยายผลและนำไปสู่การทำงานอย่างยั่งยืน ซึ่งเทศบาลเมืองแม่เหียะจะเป็นพื้นที่นำร่อง การจัดการและการดูแลระบบสาธารณสุขด้วยตนเองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการเข้าถึงระบบสาธารณสุขของประชาชนในพื้นที่นั้นๆ และการควบคุมการแพร่ระบาด เพื่อลดการกระจายของเชื้อไวรัส COVID-19 จากความร่วมมือของเครือข่ายฯ ร่วมกับเทศบาลเมืองแม่เหียะในการปฏิบัติการและเป็นพื้นที่สาธารณะต้นแบบ (Sandbox) ปฏิบัติการสำเร็จแล้ว จะได้มีการถอดบทเรียนความร่วมมือครั้งนี้ ซึ่งเป็นระบบจัดการตนเองผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่การพัฒนาและยกระดับพื้นที่อื่น ต่อไป

S 115925132
S 115925133
S 115925134

S 115925136
S 115925137
S 115925138
S 115925139
S 115925140
S 115925141