เผยรายงานผลการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในคนไทย สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ “ดีมาก” ทั้งซิโนแวกและแอสตราเซเนกา”

724

เผยรายงานผลการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในคนไทย สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ “ดีมาก” ทั้งซิโนแวกและแอสตราเซเนกา

ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดผลการศึกษาประสิทธิผลการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของ “วัคซีนโควิด-19” สองชนิด ได้แก่ วัคซีนแอสตราซิเนกา และ วัคซีนซิโนแวก ที่ฉีดในคนไทย ตรวจวัดระดับแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 ในเลือด ด้วยวิธี Roche Elecsys Electrochemiluminescence lmmunoassay (ECLIA) แบ่งการวิเคราะห์ เป็นกลุ่มต่างๆ ได้แก่

1) กลุ่มผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อโควิด โดยเจาะเลือดหลังจากนั้น 4-8 สัปดาห์ เพื่อดูว่าการติดเชื้อโดยธรรมชาติจะสามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้สร้างแอนติบอดีต่อเชื้อโควิด-19 ได้หรือไม่?

2) กลุ่มที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน

3) กลุ่มที่ฉีดวัคซีนแอสตราซิเนกา โดยเจาะเลือดก่อนฉีด และหลังฉีดเข็มที่หนึ่งแล้ว 4 สัปดาห์

4) กลุ่มที่ฉีดวัคซีนซิโนแวก โดยเจาะเลือดก่อนฉีด, หลังฉีดเข็มที่หนึ่งแล้ว 3 สัปดาห์ และหลังฉีดเข็มที่สองแล้ว 4 สัปดาห์

 กรณีที่การติดเชื้อโดยธรรมชาติ

– กลุ่มผู้ที่ไม่เคยติดเชื้อและไม่ได้ฉีดวัคซีน 0% (ทุกรายตรวจไม่พบแอนติบอดีต่อเชื้อ)

– กลุ่มผู้เคยมีการติดเชื้อโดยธรรมชาติ ตรวจพบแอนติบอดี 92.40% (243 ใน 263 ราย) และมีปริมาณเฉลี่ย 60.9 unit/ml

 กรณีวัคซีนของแอสตราซิเนกา

– ก่อนฉีดวัคซีน 0% (ทุกรายตรวจไม่พบแอนติบอดีต่อเชื้อ)

– หลังฉีดเข็มแรก 4 สัปดาห์ ตรวจพบแอนติบอดี 97.26% (71 ใน 73 ราย) และมีปริมาณเฉลี่ย 47.5 unit/ml

– ยังไม่มีผลการตรวจหลังฉีดเข็มที่สอง เนื่องจากยังไม่ถึงกำหนดเวลาฉีดเข็มที่สอง

 กรณีวัคซีนของซิโนแวก

– ก่อนฉีดวัคซีน 0% (ทุกรายตรวจไม่พบแอนติบอดีต่อเชื้อ)

– หลังฉีดเข็มแรก 3 สัปดาห์ ตรวจพบแอนติบอดี 65.96% (124 ใน 188 ราย) และมีปริมาณเฉลี่ย 1.9 unit/ml

– หลังฉีดเข็มที่สอง 4 สัปดาห์ ตรวจพบแอนติบอดี 99.49% (196 ใน 197 ราย) และมีปริมาณเฉลี่ย 85.9 unit/ml

สรุปว่า

วัคซีนทั้งสองชนิดสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีมาก ผู้ได้รับวัคซีนเกือบทุกรายสามารถสร้างแอนติบอดีในระดับสูง

-97.26% ของผู้ที่ฉีดวัคซีนแอสตราซิเนกาเข็มแรกแล้ว 4 สัปดาห์

-99.49% ของผู้ที่ฉีดวัคซีนซิโนแวกสองเข็มแล้ว 4 สัปดาห์ สามารถสร้างแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้

blank

Cr.​ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย