สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เผย ภาพ “ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี” มาฝากคนไทย เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2564 ณ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ. แม่ริม จ. เชียงใหม่

328

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เผย ภาพ“ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี” มาฝากคนไทย เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2564 ณ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ. แม่ริม จ. เชียงใหม่

blank

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เก็บภาพดวงจันทร์ก่อนคืนเต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปีมาฝากคนไทย บันทึกเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2564 ณ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ. แม่ริม จ. เชียงใหม่

นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ หัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์ สดร. กล่าวว่า คืนวันที่ 27 เมษายน 2564 เกิดปรากฏการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี ดวงจันทร์ปรากฏเต็มดวงอยู่ตำแหน่งใกล้โลกที่สุดในรอบปีที่ระยะทาง 357,370 กิโลเมตร จะสังเกตเห็นดวงจันทร์เต็มดวงมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย ประชาชนให้ความสนใจรอชมคึกคัก อย่างไรก็ตาม ในคืนดังกล่าวท้องฟ้ามีเมฆมากและมีฝนตกเกือบทั่วประเทศ ส่งผลให้ในหลายพื้นที่ไม่สามารถสังเกตการณ์และบันทึกภาพปรากฏการณ์ดังกล่าวได้

blank
นายศุภฤกษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า แม้ช่วงนี้จะอยู่ในช่วงเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รณรงค์ให้ประชาชนเว้นระยะห่างทางสังคม แต่ก็มีปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ เช่น ดวงจันทร์เต็มดวงในช่วงใกล้โลกที่สุด มาช่วยให้เกิดกิจกรรมพิเศษ บรรเทาความตึงเครียดจากสถานการณ์ปัจจุบัน ส่งพลังบวกให้กันและกันผ่านดวงจันทร์

blankสำหรับปรากฏการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้ – ไกล โลกในครั้งต่อไป ขอชวนติดตามปรากฏการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี หรือ ไมโครฟูลมูน จะเกิดขึ้นในวันที่ 19 ธันวาคม 2564 ระยะห่างประมาณ 405,924 กิโลเมตร และดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี ในปีถัดไป ตรงกับวันที่ 14 กรกฎาคม 2565 ระยะห่างประมาณ 357,410 กิโลเมตร

blank

ผู้สนใจสามารถติดตามข้อมูลปรากฏการณ์ดาราศาสตร์เพิ่มเติมได้ทางเฟซบุ๊กสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติที่ https://www.facebook.com/NARITpage

blankblank