ม.แม่โจ้ ปลูกกัญชาเพื่อวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ที่ให้สารแคนาบินอยด์ที่มีประโยชน์ต่อการแพทย์ ตลอดจนเผยแพร่พันธุ์และองค์ความรู้ไปสู่เกษตรกรและผู้ปลูกที่ได้รับอนุญาต อันจะทำให้เกิดความเข้มแข็งและความมั่นคงของระบบการทำการเกษตร ยกระดับเศรษฐกิจให้กับทุกระดับต่อไป

492

ม.แม่โจ้ ปลูกกัญชาเพื่อวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ที่ให้สารแคนาบินอยด์ที่มีประโยชน์ต่อการแพทย์ ตลอดจนเผยแพร่พันธุ์และองค์ความรู้ไปสู่เกษตรกรและผู้ปลูกที่ได้รับอนุญาต อันจะทำให้เกิดความเข้มแข็งและความมั่นคงของระบบการทำการเกษตร  ยกระดับเศรษฐกิจให้กับทุกระดับต่อไป

0B957CB2 6562 4114 9521 713BA0CFD2AC

วันพุธที่ 17 มีนาคม 2564 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธีปลูกกัญชาโครงการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์กัญชาที่ให้สารแคนาบินอยด์ที่มีประโยชน์ต่อการแพทย์ ซึ่งเป็นการดำเนินงานภายใต้บันทึกความเข้าใจระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และบริษัท อีสเทิร์น สเปคตรัม กรุ๊ป โอกาสนี้ คุณธนิสร บุญสูง กรรมการผู้จัดการ บริษัทอีสเทิร์น สเปคตรัม กรุ๊ป จำกัด และทีมงาน รวมถึงคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมเป็นเกียรติในพิธี ณ ศูนย์วิจัยเกษตรใหม่ ฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้

2B669B5D 23CB 40D1 85E7 3167649DE61F

4BD3B68E B0E6 46B7 9465 0A1CAA72126C

ปัจจุบันกัญชาได้รับอนุญาตให้ปลูกเพื่อประโยชย์ทางด้านการแพทย์ภายใต้การกำกับและควบคุมของกฎหมาย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนางานวิจัยที่มุ่งเน้นการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีที่เข้มข้นมีประสิทธิภาพ มาเป็นเครื่องมือสำหรับยกระดับภาคการเกษตร โครงการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์กัญชาที่ให้สารแคนนาบินอยด์ที่มีประโยชน์ต่อการแพทย์ เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ได้ร่วมดำเนินการในรูปแบบ PPP ที่มุ่งเน้นวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์กัญชาบนฐานเศรษฐกิจชีวภาพ และเป็นแหล่งผลิตสายพันธุ์กัญชาที่สามารถเจริญเติบโตในสภาพแวดล้อมของประเทศ ให้ผลผลิตและคุณภาพผลผลิตที่มีประโยชน์ต่อการแพทย์ที่สูง ตลอดจนเผยแพร่พันธุ์และองค์ความรู้ไปสู่เกษตรกรและผู้ปลูกที่ได้รับอนุญาต อันจะทำให้เกิดความเข้มแข็งและความมั่นคงของระบบการทำการเกษตร ตลอดจน ยกระดับเศรษฐกิจให้กับทุกระดับต่อไป

444AA6EB 33F3 4429 8D22 9BC1259E2142

F6E269AC 02E4 44CA 9EB9 E95880AFA231

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรีดา นาเทเวศน์ หัวหน้าโครงการฯ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า “การวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์กัญชาจำเป็นต้องมีระบบการควบคุมตั้งแต่การเพาะปลูก การจัดการธาตุอาหาร โรคแมลง เทคโนโลยีสำหรับการปรับปรุงสายพันธุ์ การวิเคราะห์ทั้งในระดับห้องปฏิบัติการ ตลอดจนสภาพแวดล้อมและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของกัญชา ดังนั้นโครงการวิจัยในครั้งนี้จึงได้ดำเนินการคลุมทั้ง 3 ระบบ คือ 1) Indoor สำหรับการทำ speed breeding ในการสร้างพันธุ์แท้ 2) Outdoor และ 3) Greenhouse สำหรับการปรับปรุงสายและทดสอบพันธุ์ที่เหมาะสม ทราบปริมาณสารสำคัญแต่ละชนิด เพื่อการนำไปใช้ให้ได้ประโยชน์สูงสุดทางการแพทย์ และสามารถสร้างสายพันธุ์ที่มีศักยภาพสูงตามความต้องการของตลาดได้ เป็นการสร้างแบบมั่นคงทางด้านฐานพันธุรรมของกัญชาไทย ที่นำไปสู่ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของประเทศต่อไปในอนาคต ”

80F96843 2B91 4F80 BF4B F1EAEF990B2E

8D247C8C 7236 4B4D A6B2 CEC6AA220389

FEA9B4F3 8AAF 4783 B63F D4F683614768

E50156D6 B1EB 4647 98D6 80754B92B6CA

0A62E2FB 6799 40DD 98E6 3B51F362754F

38A81265 F3C5 4434 A427 BF812614ED80
46B141F3 8B53 4C40 8ED2 D099571FAAE6
53CE6130 E8C3 406B 9D74 127812DBE8B2
80BE0C60 C902 4BDA 88BD 551D136B1D2C

81383F7D 8C51 4F35 9791 0EC49DC15589
B37D31A0 8BDE 4414 BF4B B44F95EA161A
ฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้//รายงาน)