รมช.เกษตรและสหกรณ์ แถลงปฏิบัติการฝนหลวงยับยั้งความรุนแรงของการเกิดพายุลูกเห็บ ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน

53

รมช.เกษตรและสหกรณ์ แถลงปฏิบัติการฝนหลวงยับยั้งความรุนแรงของการเกิดพายุลูกเห็บ ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน

 

DQFBPN.jpg รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แถลงปฏิบัติการฝนหลวงยับยั้งความรุนแรงของการเกิดพายุลูกเห็บ ช่วยเหลือพี่น้องประชาชนพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ประจำปี 2564 พร้อมตรวจเยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน

DQFfeV.jpgวันนี้ (12 มี.ค. 64) ที่ท่าอากาศยานกองบิน 41 จังหวัดเชียงใหม่ ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานแถลงปฏิบัติการฝนหลวงยับยั้งความรุนแรงของการเกิดพายุลูกเห็บ ภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กับกองทัพอากาศ ประจำปี 2564 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน โดยได้มีการตั้งหน่วยปฏิบัติการมาตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา พร้อมกันนี้ยังได้ตรวจเยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานอีกด้วย

DQyFeZ.jpg

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า การปฏิบัติการฝนหลวงยับยั้งความรุนแรงของการเกิดพายุลูกเห็บและการบรรเทาปัญหาหมอกควันไฟป่าภายใต้โครงการความร่วมมือกับกองทัพอากาศ ประจำปี 2564 และการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากพายุลูกเห็บ ได้จัดขึ้นเพื่อสานต่อพระราชปณิธาน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อช่วยเหลือประชาชนจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซึ่งปัจจุบันความรุนแรงจากการเกิดพายุลูกเห็บ ได้ส่งผลกระทบและสร้างความเสียหายแก่ประชาชนและพื้นที่ จึงถือเป็นภารกิจตามยุทธศาสตร์ของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร โดยในปี 2564 กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้กำหนดให้จังหวัดเชียงใหม่ เป็นจุดศูนย์กลางของภาคเหนือ ในการจัดทำโครงการฯ โดยได้รับความร่วมมือจากกองทัพอากาศ ในการให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนซึ่งได้รับผลกระทบ และเกิดความเสียหายจากพายุลูกเห็บอยู่เป็นประจำ นอกจากนี้ยังได้น้อมนำศาสตร์ตำราฝนหลวง มาช่วยแก้ไขปัญหาภัยแล้งให้แก่เกษตรกรและผู้ใช้น้ำทั่วทั้งประเทศ รวมถึงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้กับระบบบริหารจัดการน้ำของประเทศด้วย

DQF7ze.jpg
DQFSxl.jpgสำหรับในปี 2564 กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้กำหนดให้ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือดำเนินการปฏิบัติการฝนหลวงบริเวณพื้นที่ปฏิบัติครอบคลุมพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ โดยในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือตอนบน โดยได้รับความร่วมมือจากกองทัพอากาศในการสนับสนุนอากาศยานและบุคลากรในการดำเนินงาน อาทิ เครื่องบินโจมตีแบบที่ 7 หรืออัลฟ่าเจ็ท ซึ่งเป็นเครื่องบินที่มีสมรรถนะสูงและมีความเร็วในการเข้าถึงเป้าหมาย ในการปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อยับยั้งการเกิดพายุลูกเห็บ ร่วมกันปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อยับยั้งการเกิดพายุลูกเห็บ โดยการใช้วิธีโจมตีด้วยพลุซิลเวอร์ไอโอไดด์ โดยการนำสารฝนหลวงซิลเวอร์ไอโอไดด์ เพื่อเร่งกระบวนการทางธรรมชาติ ทำให้ผลึกน้ำแข็งเปลี่ยนสถานะเป็นเม็ดน้ำ โดยที่ผลึกน้ำแข็งจะละลายตกลงมาเป็นน้ำฝน ซึ่งจะช่วยบรรเทาความรุนแรงและความเสียหายอันเกิดจากพายุลูกเห็บลงได้ ทั้งนี้คาดหวังว่าจะสามารถบรรเทาและยับยั้งการเกิดพายุลูกเห็บ ซึ่งสร้างความเสียหายแก่ชีวิต ทรัพย์สิน และผลผลิตทางการเกษตรของประชาชนได้

DQyMkI.jpgDQF4Wv.jpg

นอกจากนี้ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 10 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ยังได้ปฏิบัติภารกิจบินสำรวจโดยเฮลิคอปเตอร์ ในบริเวณพื้นที่ อำเภอแม่แจ่ม อำเภอเชียงดาว อำเภอกัลยานิวัฒนา อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน และบริเวณรอยต่อเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า จังหวัดชียงใหม่ – จังหวัดตาก – จังหวัดลำพูน และปฏิบัติภารกิจช่วยดับไฟป่าในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูนอีก 8 ภารกิจด้วย

**********
ศราวุธ เจิมจันทร์ ..ภาพ/ข่าว
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่
12 มีนาคม 2564