เชียงใหม่ประสานทุกอำเภอ เตรียมพร้อมรับมือพายุฤดูร้อน ช่วง 1-4 มีนาคม นี้

4717

เชียงใหม่ประสานทุกอำเภอ เตรียมพร้อมรับมือพายุฤดูร้อน ช่วง 1-4 มีนาคม นี้

เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 จังหวัดเชียงใหม่มีวิทยุสื่อสารด่วน แจ้งทุกเภอเภอ, เทศบาลนครฯ, เทศบาลเมืองทุกแห่ง เตรียมความพร้อมรับมือพายุฤดูร้อนช่วง 1-4 มีนาคม 2564 นี้ โดยระบุว่า ด้วยกองอํานวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) ได้ติดตามสภาวะอากาศ และพิจารณาปัจจัยเสี่ยง กอปรกับกรมอุตุนิยมวิทยาได้มีประกาศฉบับที่ 1 (37/2564) ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 05.00 น. แจ้งว่า ในช่วงวันที่ 1-4 มีนาคม 2564 ประเทศไทยตอนบนจะมี พายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงฟ้าผ่า

เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์พายุฤดูร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ จึงให้กองอํานวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอําเภอ ดําเนินการ ดังนี้

1. แจ้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประชาชน ให้ติดตามข้อมูล สภาวะอากาศและข่าวสารจากทางราชการ ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้กับประชาชน ระวังอันตรายจาก ฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้งใต้ต้นไม่ใหญ่ สิ่งก่อสร้างและป้ายโฆษณา ที่ไม่แข็งแรง รวมถึงระวังอันตรายจากฟ้าผ่า สําหรับเกษตรกรควรป้องกันผลิตผลทางการเกษตรที่อาจได้รับ ความเสียหายด้วย

2. วิเคราะห์และประเมินสถานการณ์จากปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ สภาวะอากาศและปัจจัยสภาพความเสี่ยง ในพื้นที่ เพื่อประสานและบูรณาการหน่วยงานพลเรือน ทหาร ตํารวจ เครือข่ายอาสาสมัคร จิตอาสา ภาคเอกชน เตรียมพร้อมทรัพยากร เครื่องมืออุปกรณ์และแผนเผชิญเหตุ โดยให้ความสําคัญในการแจ้งเตือน พร้อมเข้าช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ สําหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ติดตามสถานการณ์ อย่างใกล้ชิต รวมทั้งสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนในทุกช่องทาง ทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น สื่อสังคมออนไลน์ วิทยุชุมชน หอเตือนภัย หอกระจายข่าวประจําหมู่บ้าน

3. ประชาสัมพันธ์ถึงประชาชนในพื้นที่ หากพบเห็นหรือได้รับผลกระทบ และต้องการความช่วยเหลือ เมื่อเกิดสถานการณ์ภัยพิบัติ สามารถแจ้งเหตุผ่านทางโทรศัพท์สายด่วน 1784 หรือแจ้งผ่านไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784” โดยดําเนินการเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM ตลอด 24 ชั่วโมง

4. ให้พิจารณาใช้อุปกรณ์เตือนภัยที่มีในพื้นที่ เช่น หอเตือนภัย หอกระจายข่าว เครื่องรับสัญญาณ เตือนภัยผ่านดาวเทียม เพื่อแจ้งเตือนประชาชน

5. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ โทรศัพท์หมายเลข 02-3994114 หากมีข้อมูลคาดการณ์สถานการณ์เพิ่มเติมหรือมีการเปลี่ยนแปลงจะแจ้งให้ทราบต่อไป

6. หากเกิดสถานการณ์ฯ ในพื้นที่ ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ให้เร่งดําเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยจัดกําลังในรูปแบบที่มประชารัฐ เข้าสํารวจความเสียหาย และดําเนินตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยเร็ว พร้อมทั้งรายงานการดําเนินการให้กองอํานวยการป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ทราบทันที ทางโทรศัพท์/โทรสาร หมายเลข 053221470 , 053215720

opSC5E.jpg