ลุยแก้ปัญหาแม่วัยรุ่น พบแนวโน้มดีขึ้นต่อเนื่อง รัฐบาลเล็งเห็นถึงปัญหาจึงได้บูรณาการการทำงานเพื่อให้แม่วัยรุ่นได้รับการศึกษาอย่างเหมาะสม จัดระบบดูแล ช่วยเหลือ และคุ้มครองนักเรียนหรือนักศึกษาที่ตั้งครรภ์

81

ลุยแก้ปัญหาแม่วัยรุ่น พบแนวโน้มดีขึ้นต่อเนื่อง รัฐบาลเล็งเห็นถึงปัญหาจึงได้บูรณาการการทำงานเพื่อให้แม่วัยรุ่นได้รับการศึกษาอย่างเหมาะสม จัดระบบดูแล ช่วยเหลือ และคุ้มครองนักเรียนหรือนักศึกษาที่ตั้งครรภ์

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกรัฐบาล เผยรายงานสถานการณ์แม่วัยรุ่นของสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ระบุว่า อัตราการมีบุตรของวัยรุ่นอายุ 15 ถึง 19 ปี ในประเทศไทยในภาพรวม ลดลงจาก 51 คน ต่อประชากร 1,000 คน ในปี 2558 เหลือ 23 คนต่อประชากร 1,000 คน ในปี 2562

ข้อมูลสะท้อนว่าภาคเหนือ มีอัตราการมีบุตร 42 คนต่อประชากร 1,000 คน ภาคใต้ 35 คน ต่อประชากร 1,000 คน อัตราการมีบุตรของแม่วัยรุ่นที่อายุต่ำกว่า 15 (แม่วัยใส) มากที่สุดคือร้อยละ 0.8 แม่วัยรุ่นส่วนมากมีการศึกษาน้อย คือ จบการศึกษาระดับประถมศึกษามากที่สุด 130 คนต่อประชากร 1,000 คน และจะลดลงเรื่อย ๆ ตามระดับการศึกษาของผู้หญิงที่เพิ่มขึ้น สะท้อนว่าระบบการศึกษามีส่วนสำคัญที่จะช่วยลดปัญหาดังกล่าว ครัวเรือนยากจนจะมีปัญหาแม่วัยรุ่นสูงกว่าครัวเรือนรายได้สูง ขณะที่แม่วัยรุ่นจำนวนมากหลุดออกจากระบบการศึกษา โดยมีเพียงร้อยละ 23 เท่านั้นที่กลับมาเรียนในสถานศึกษาเดิม นั่นหมายความว่า โอกาสที่จะมีงานทำและมีรายได้ที่เพียงพอน้อยมาก ทำให้ต้องอยู่ด้วยการพึ่งพิงผู้อื่น

รัฐบาลเล็งเห็นถึงปัญหาจึงได้บูรณาการการทำงานเพื่อให้แม่วัยรุ่นได้รับการศึกษาอย่างเหมาะสม จัดระบบดูแล ช่วยเหลือ และคุ้มครองนักเรียนหรือนักศึกษาที่ตั้งครรภ์ และระบบการส่งต่อให้ได้รับบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ และสวัสดิการสังคมที่ดี

ที่มา: ไทยคู่ฟ้า