โฆษก ศบค. เตือนประชาชนใน 10 จังหวัด ติดชายแดนเมียนมา คุมเข้มเฝ้าระวังการแพร่ระบาดโควิด-19

2253

โฆษก ศบค. เตือนประชาชนใน 10 จังหวัด ติดชายแดนเมียนมา คุมเข้มเฝ้าระวังการแพร่ระบาดโควิด-19

เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2563 โฆษก ศบค. เผยถึงสถานการณ์ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ของเมียนมา ว่ตัวเลขผู้ป่วยรวมของเมียนมาทะลุหนึ่งหมื่นรายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยสถานการณ์ของเมียนมาตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา มีผู้ติดเชื้อที่อยู่ตามขอบของประเทศในส่วนที่ติดกับบังคลาเทศและอินเดีย ต่อมาต้นเดือนถึงกลางเดือนกันยายนเริ่มผู้ติดเชื้อที่ใจกลางของประเทศ และช่วงกลางเดือนกันยายนถึงปลายเดือนกันยายน มีผู้ติดเชื้อมากขึ้นและมีผู้เสียชีวิตที่กรุงย่างกุ้ง ซึ่งเป็นเมืองเศรษฐกิจของเมียนมา ทั้งนี้ ขอบแนวชายแดนของเมียนมามีพื้นที่ติดต่อกับประเทศไทยรวม 10 จังหวัด ทาง ศบค. จึงขอเน้นย้ำประชาชนในพื้นที่ 10 จังหวัดชายแดนไทย-เมียนมา ได้แก่

1. เชียงราย (แม่ฟ้าหลวง,แม่สาย,เชียงแสน)
2. เชียงใหม่(ฝาง,แม่อาย,เชียงดาว,เวียงแหง,ไชยปราการ)
3. แม่ฮ่องสอน (เมืองแม่ฮ่องสอน,ปางมะผ้า, แม่สะเรียง,ปาย,สบเมย,แม่ลาน้อยขุนยวม)
4. ตาก (ท่าสองยาง,แม่ระมาด,แม่สอด,พบพระ,อุ้มผาง)
5. กาญจนบุรี (สังขละ,ทองผาภูมิ,เมืองฯ ,ไทรโยค)
6. ราชบุรี (สวนผึ้ง,บ้านคา)
7. เพชรบุรี (หนองหญ้าปล้อง,แก่งกระจาน)
8. ประจวบคีรีขันธ์ (เมืองประจวบคีรีขันธ์,ปราณบุรี,
หัวหิน, สามร้อยยอด, ทับสะแก, บางสะพาน,
บางสะพานน้อย,กุยบุรี)
9. ชุมพร (ท่าแซะ)
10. ระนอง (เมืองระนอง, ละอุ่น, กระบุรี)

ดังนั้น จึงขอความร่วมมือพี่น้องประชาชนที่อยู่ใน 10 จังหวัดดังกล่าวได้ร่วมมือกันดูแลขอบของประเทศไทยและให้ความร่วมมือด้านสาธารณสุขด้วย เพราะจากสถานการณ์การของเมียนมา มีการติดเชื้อเริ่มต้นมาจากขอบของประเทศที่ติดกับอินเดียและบังคลาเทศ แล้วไหลเข้ามาจนถึงใจกลางประเทศ และขอเน้นย้ำให้คนไทยใส่หน้ากากผ้า หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ และรักษาระยะห่างและความสะอาดของพื้นผิว เพื่อช่วยป้องกันก่อนที่จะมีวัคซีนโควิด-19

OuDYjg.jpg