กอนช. ออกประกาศเตือน เฝ้าระวังพื้นที่ 33 จังหวัด เสี่ยงน้ำหลาก น้ำท่วมขัง ดินถล่ม จากอิทธิพลของพายุ “โนอึล”

1765

กอนช. ออกประกาศเตือน เฝ้าระวังพื้นที่ 33 จังหวัด เสี่ยงน้ำหลาก น้ำท่วมขัง ดินถล่ม จากอิทธิพลของพายุ “โนอึล”

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ออกประกาศ เรื่อง เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก ดินถล่ม และน้ำท่วมขัง ฉบับที่ 6/2563 ระบุว่าตามประกาศ กรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับที่ 12 ลงวันที่ 18 กันยายน 2563 กรมอุตุนิยมวิทยา แจ้งว่า พายุระดับ 3 (โซนร้อน) “โนอึ” ปกคลุมบริเวณจังหวัดอำนาจเจริญ ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 75 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกอย่างช้า ๆ คาดว่าจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุระดับ 2 (ดีเปรสชัน) ในระยะ ต่อไป ประกอบกับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ส่งผลให้ทุกภาคมีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมแรงบางแห่ง

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้ติดตามเส้นทางการเคลื่อนตัวของพายุ “โนอึ” ที่เคลื่อนผ่าน ประเทศไทย และอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักถึงหนักมาก (90-250 มิลลิเมตร) บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ รวมถึงได้ประเมินสถานการณ์น้ำในลำน้ำพบว่าจะมีพื้นที่ เสี่ยงน้ำหลากน้ำท่วมขัง ในช่วงระหว่างวันที่ 18 – 21 กันยายน 2563 ดังนี้

1. น้ำป่าไหลหลากและดินถล่ม น้ำท่วมขัง ใน 33 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ นครราชสีมา ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ตาก แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ พะเยา น่าน ลำพูน ลำปาง พิษณุโลก เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ ลพบุรี สระบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว ระยอง จันทบุรี ตราด กาญจนบุรี ระนอง ชุมพร พังงา กระบี่ และสุราษฎร์ธานี

2. น้ำล้นตลิ่ง บริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมลำน้ำ ดังนี้

2.1 ระหว่างวันที่ 18 – 22 กันยายน 2563 ระดับน้ำมีแนวโน้มล้นตลิ่ง 0.3 – 1.0 เมตร ที่ ห้วยทับทัน .ห้วยทับทัน .ศรีสะเกษ ห้วยขะยุง .กันทรารมย์ .ศรีสะเกษ ห้วยสำราญ .อุทุมพรพิสัย .ศรีสะเกษ ห้วยเสนง .เมือง .สุรินทร์ ลำปลายมาศ .ลำปลายมาศ .บุรีรัมย์ ลำน้ำยัง .เสลภูมิ .ร้อยเอ็ด แม่น้ำชี .มหาชนะชัย .ยโสธร และแม่น้ำมูล .พิบูลมังสาหาร .อุบลราชธานี

2.2 ระหว่างวันที่ 23 – 27 กันยายน 2563 ปริมาณน้ำหลากจากต้นน้ำอาจส่งผลให้ ระดับน้ำล้นตลิ่งด้านท้ายน้ำในระยะต่อไปได้ บริเวณ แม่น้ำชี .เขื่องใน .อุบลราชธานี และแม่น้ำมูล .วารินชําราบ .อุบลราชธานี ระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว บริเวณแม่น้ำโขงตั้งแต่ .มุกดาหาร จนถึง .อุบลราชธานี มีแนวโน้ม เพิ่มขึ้น อยู่ในช่วง 0.3 – 1.0 เมตร ไม่ส่งผลกระทบให้ระดับน้ำล้นตลิ่ง

3. เขื่อนขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 จำนวน 51 แห่ง ในพื้นที่ 23 จังหวัด ประกอบด้วย เชียงใหม่ เชียงราย แพร่ น่าน ลำปาง อุตรดิตถ์ สุโขทัย เลย หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร อุดรธานี กาฬสินธุ์ นครพนม มุกดาหาร ศรีสะเกษ อุบลราชธานี สระบุรี ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด