นิด้าโพล เผยคนส่วนใหญ่ “ไม่เห็นด้วย” เปิดให้ต่างชาติเข้าไทย ชี้ไม่เชื่อมั่นคุมโควิด-19 ได้

262

นิด้าโพล เผยคนส่วนใหญ่ “ไม่เห็นด้วย” เปิดให้ต่างชาติเข้าไทย ชี้ไม่เชื่อมั่นคุมโควิด-19 ได้

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “เราจะเปิดให้ต่างชาติเข้าประเทศหรือไม่” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 6 – 8 กรกฎาคม 2563 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษาและอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,251 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการเปิดให้คนต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศไทย  การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0

20200710040609

จากการสำรวจเมื่อถามถึงการเปิดให้คนต่างชาติเดินทางเข้ามารักษาพยาบาลในไทย (ที่ไม่ใช่โรคโควิด – 19) และต้องถูกกักตัวในโรงพยาบาลเป็นเวลา 14 วัน ก่อนได้รับอนุญาตให้เดินทางกลับบ้านได้ (โครงการ Medical and Wellness Program) พบว่า ร้อยละ 23.10 ระบุว่า เห็นด้วยมากเพราะ ทำให้การแพทย์ของไทยมีชื่อเสียง มีความน่าเชื่อถือ และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพิ่มรายได้ให้กับประเทศ ร้อยละ 21.58 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย เพราะ ประเทศไทยมีมาตรการที่ดีในการควบคุมโรคโควิด – 19 เป็นการเเสดงศักยภาพของบุคลากรทางการเเพทย์ของไทยให้ทั่วโลกได้เห็น และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ร้อยละ 13.91 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะ ไม่เชื่อว่าปลอดภัย กลัวคนต่างชาตินำเชื้อเข้ามาแพร่ระบาดในประเทศไทย และสถานการณ์ยังไม่เอื้ออำนวยให้คนต่างชาติเข้ามา ถึงเเม้จะมีใบรับรองก็ตาม และร้อยละ 41.41 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย เพราะ คนไทยที่กลับ จากต่างประเทศก็ติดโรคและรักษาตัวอยู่เยอะมากแล้ว และกลัวคนต่างชาตินำเชื้อเข้ามาแพร่ระบาดในประเทศไทย ทำให้เกิดโควิด – 19 รอบ 2 ได้

ด้านการเปิดให้คนต่างชาติเดินทางเข้ามาเพื่อรักษาพยาบาล (ที่ไม่ใช่โรคโควิด – 19) และต้องถูกกักตัวเป็นเวลา 14 วัน ก่อนอนุญาต ให้เดินทางท่องเที่ยวในไทยได้ (โครงการท่องเที่ยวสุขภาพดีวิถีใหม่) พบว่า ร้อยละ 24.14 ระบุว่า เห็นด้วยมาก เพราะ เป็นการช่วยเหลือ ฟื้นฟู การท่องเที่ยวในไทยให้มีรายได้เหมือนเดิม และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจไทย ร้อยละ 23.26 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย เพราะ มั่นใจการรักษาของแทพย์ในประเทศไทย เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของไทย และมีเงินหมุนเวียนเข้าประเทศทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น ร้อยละ 14.55 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะ กลัวเกิดการแพร่ระบาด โรคโควิด – 19 รอบ 2 ขึ้น เนื่องจากโรคโควิด – 19 มักมาจากต่างชาติ ร้อยละ 37.89 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย เพราะ อยากให้โรคโควิด – 19 หมดไปก่อน 100% ถึงแม้จะมีการกักตัว 14 วัน ก็ยังไม่เชื่อมั่นว่าจะไม่เกิดโรคโควิด – 19 ขึ้น กลัวเกิดการแพร่ระบาดรอบ 2 ขึ้น และร้อยละ 0.16 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่สนใจ

สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อโครงการทราเวลบับเบิล (Travel Bubble) ที่จะอนุญาตให้คนต่างชาติจากประเทศที่ปลอดเชื้อ เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยได้ พบว่า ร้อยละ 25.90 ระบุว่า เห็นด้วยมาก เพราะ เป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว ด้านการบินจะได้ไม่หยุดชะงัก และประเทศไทยต้องมีมาตรการที่เข้มงวดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 ร้อยละ 28.46 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย เพราะ มีเงินหมุนเวียนในประเทศเพิ่มมากขึ้น เป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และนักท่องเที่ยวที่มาอยากให้จัดเป็นกลุ่มเพื่อการดูแลและควบคุมได้ง่าย ร้อยละ 14.95 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะ กลัวเกิดการแพร่ระบาดรอบ 2 ขึ้น เนื่องจากกว่าจะแสดงอาการค่อนข้างมีเวลานาน และไม่เชื่อมั่นว่านักท่องเที่ยวที่มาจะปลอดภัยจากโควิด – 19 จริง ร้อยละ 29.65 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย เพราะ ไม่เชื่อมั่นในตัวนักท่องเที่ยวถึงจะเป็นประเทศ ปลอดเชื้อก็ตาม กลัวนำโรคเข้ามาในไทย และทำให้เกิดการแพร่ระบาดในไทยรอบ 2 ได้ และร้อยละ 1.04 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่สนใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลในการควบคุมไม่ให้มีการติดเชื้อไวรัสโควิด – 19 ภายในประเทศได้ หากมีการเปิดให้คนต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศไทยได้ ตามโครงการต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ พบว่า ร้อยละ 15.43 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก เพราะ มั่นใจการทำการของรัฐบาลว่าจะสามารถควบคุมคนต่างชาติที่เข้ามาประเทศไทยได้ และการแพทย์ของไทยมีความน่าเชื่อถือ ร้อยละ 23.90 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น เพราะ ดูจากผลงานที่ผ่านมาของรัฐบาลว่าสามารถควบคุมได้ และรัฐบาลน่าจะมีมาตรการที่เข้มงวดในการควบคุมไม่ให้โควิด – 19 ระบาดในไทยรอบ 2 ร้อยละ 30.53 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น เพราะ กลัวคนต่างชาติไม่ให้ความร่วมมือในการป้องกันตนเอง และยังไม่ค่อยมั่นใจว่ารัฐบาลจะสามารถควบคุมไม่ให้เกิดโรคระบาดรอบ 2 ในไทยได้ ร้อยละ 29.10 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย เพราะ ไม่เชื่อว่ารัฐบาลจะสามารถควบคุมการแพร่ระบาดในไทยได้ เนื่องจากควบคุมได้ยาก และมาตรการของรัฐบาลยังไม่มีความเข้มงวดที่ดีพอ และร้อยละ 1.04 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่สนใจ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.87 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.66 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.31 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.57 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.59 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 48.68 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.32 เป็นเพศหญิง

ตัวอย่างร้อยละ 7.59 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 17.27 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 22.06 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 31.34 มีอายุ 46 – 59 ปี และร้อยละ 21.74 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 94.24 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.44 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.04 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 1.28 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 23.02 สถานภาพโสด ร้อยละ 74.26 สมรสแล้ว ร้อยละ 1.36 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 1.36 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส

ตัวอย่างร้อยละ 27.66 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 32.37 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 9.03 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 24.46 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 5.12 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.36 ไม่ระบุการศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 10.31 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 13.99 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 19.58 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 14.23 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 16.47 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 20.54 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 3.28 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.08 เป็นพนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 1.52 ไม่ระบุอาชีพ

ตัวอย่างร้อยละ 20.62 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 21.66 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 26.22 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 9.35 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 5.04 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 –  40,000 บาท ร้อยละ 6.40 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 10.71 ไม่ระบุรายได้

20200710040733