ชวนชม “ดาวหางนีโอไวส์” ตลอดช่วงเดือน ก.ค. นี้ สังเกตได้ด้วยตาเปล่า ลุ้นชมความสวยงามเข้าใกล้โลกที่สุด 23 ก.ค. นี้

1395

ชวนชม “ดาวหางนีโอไวส์” ตลอดช่วงเดือน ก.ค. นี้ สังเกตได้ด้วยตาเปล่า ลุ้นชมความสวยงามเข้าใกล้โลกที่สุด 23 ก.ค. นี้

ช่วงเดือนกรกฎาคมนี้ “ดาวหางนีโอไวส์” ขึ้นแท่นวัตถุท้องฟ้าที่นักดาราศาสตร์ต่างเฝ้าจับตามองในขณะนี้ เนื่องจากมีความสว่างจนสามารถมองเห็นด้วยได้ตาเปล่า ขณะนี้มีผู้ถ่ายภาพดาวหางดวงนี้ได้จากทั่วทุกมุมโลก สำหรับประเทศไทยก็สามารถสังเกตได้เช่นกัน แต่เนื่องจากตรงกับช่วงฤดูฝน อาจจะต้องลุ้นเมฆกันเสียหน่อย NARIT จึงรวบรวมภาพดาวหางนีโอไวส์จากที่ต่าง ๆ มาให้ชมกันครับ

106667424 3295769723819952 3454480053243544661 o

ดาวหางนีโอไวส์ หรือ C/2020 F3 (NEOWISE) เป็นดาวหางคาบยาว โคจรรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบใช้เวลา 7,125 ปี ค้นพบโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศไวส์ (Wide-field Infrared Survey Explorer : WISE) ซึ่งเป็นกล้องโทรทรรศน์ในช่วงคลื่นอินฟราเรด ในโครงการสำรวจประชากรดาวเคราะห์น้อยและวัตถุใกล้โลก ถูกค้นพบเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2563 และเคลื่อนที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา ปัจจุบันมีค่าอันดับความสว่างปรากฏ 1.9 (ค่าอันดับความสว่างปรากฏของวัตถุท้องฟ้าที่มนุษย์สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีค่าประมาณ 6 ส่วนค่าอันดับความสว่างปรากฏของดวงจันทร์เต็มดวงประมาณ -12.6)

ขณะนี้เราสามารถเฝ้าดูดาวหางดวงนี้ได้ในช่วงรุ่งเช้าก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก ตำแหน่งปัจจุบันของดาวหางนีโอไวส์อยู่ในกลุ่มดาวสารถี (Auriga) หลังจากนี้ดาวหางจะเคลื่อนที่ขยับไปทางทิศเหนือผ่านกลุ่มดาวแมวป่า (Lynx)

ในช่วงวันที่ 1 – 16 กรกฎาคม 2563 สามารถสังเกตได้ในช่วงเช้ามืด ใกล้เส้นขอบฟ้า ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และเมื่อดวงอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้าจะไม่สามารถมองเห็นได้

หลังจากวันที่ 18 กรกฎาคม 2563 เป็นต้นไป จะสามารถสังเกตดาวหางนีโอไวส์ได้ในช่วงหัวค่ำ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า และความสว่างจะลดลงเรื่อยๆ

ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการสังเกตการณ์ดาวหางนีโอไวส์ที่ดีสุด คือช่วงวันที่ 20-23 กรกฎาคม 2563 เนื่องจากดาวหางเคลื่อนที่ห่างจากดวงอาทิตย์พอสมควรแล้ว และคาดว่าจะมีค่าอันดับความสว่างปรากฏประมาณ 3.6 แม้เป็นช่วงแสงสนธยาก็มีโอกาสที่จะมองเห็นดาวหางดวงนี้ได้ด้วยตาเปล่า

น่าจับตา วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 เป็นวันที่ดาวหางนีโอไวส์ เข้าใกล้โลกที่สุด หลังจากนั้นความสว่างจะลดลงเรื่อย ๆ จนไม่สามารถสังเกตเห็นได้ หวังว่าทั่วโลกจะได้ชมความสวยงามกันอย่างถ้วนหน้า และดาวหางนีโอไวส์จะไม่แตกไปเสียก่อน

ข้อมูล – ภาพ : NARIT / www.facebook.com/APOD.sky

79271115 3295773583819566 5869653041044770185 o
106714517 3295775240486067 2156798053296369108 o
107008472 3295774953819429 6842430440531486605 o
107460162 3295773460486245 3987517219540390157 o
107493875 3295773993819525 5951787837152470987 o
107502200 3295770710486520 8110251865052683725 o
107539839 3295774537152804 5735438530422590488 o
107568801 155503122780606 6006383539324480163 o
107695631 155503252780593 6773442522603072743 o
107700237 3295770880486503 2444440099917730139 o
107794840 3295770427153215 3529026608956082586 o
107899161 155503196113932 6182656749289732276 o
107964230 3295774253819499 8255107158498605197 o
108299106 155503226113929 2730608554578584593 o
109280434 155503149447270 3008354725144558116 o