จังหวัดเชียงใหม่ เริ่มเดินเครื่องบำบัดอากาศที่มีมลพิษและฝุ่นขนาดเล็ก PM2.5 บริเวณลานประตูท่าแพ

1540

จังหวัดเชียงใหม่ เริ่มเดินเครื่องบำบัดอากาศที่มีมลพิษและฝุ่นขนาดเล็ก PM2.5 ต้นแบบ บริเวณลานประตูท่าแพ ที่มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ส่งมาช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนจากปัญหาฝุ่นควัน เป็นวันแรก

     วันที่ 11 มีนาคม 2563 ที่ลานประตูท่าแพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ นาวาเอกอรรถสิทธิ์ พงษ์เกษตร์กรรม์ ผู้อำนวยการโรงเรียนช่าง กรมอู่ทหารเรือ ในฐานะคณะทำงานโครงการสร้างเครื่องบำบัดอากาศที่มีมลพิษและฝุ่นขนาดเล็ก PM 2.5 (ต้นแบบ) ได้ชี้แจงขั้นตอนการใช้งาน รวมถึงการดูแลรักษาเครื่องบำบัดอากาศฯ ให้กับหน่วยงานที่รับผิดชอบ ได้แก่เทศบาลนครเชียงใหม่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ โดยเครื่องบำบัดอากาศที่มีมลพิษและฝุ่นขนาดเล็ก PM 2.5 (ต้นแบบ) ของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 4 เครื่อง นั้น ก่อนหน้านี้ได้ติดตั้งอยู่บริเวณรอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กรุงเทพมหานคร แล้วเคลื่อนย้ายมาติดตั้งที่ลานประตูท่าแพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่เมื่อวันที่ 8 มีนาคมที่ผ่านมา และได้เริ่มเปิดใช้งานวันนี้เป็นวันแรก เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนชาวเชียงใหม่ที่กำลังประสบปัญหา PM 2.5 เกินมาตรฐาน

572712

     สำหรับ เครื่องบำบัดอากาศที่มีมลพิษและฝุ่นขนาดเล็ก PM 2.5 ต้นแบบ จัดสร้างขึ้นจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีความห่วงใยในปัญหาสุขภาพของประชาชน จึงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระราชูปถัมภ์ คิดหาแนวทางควบคู่ไปกับการแก้ปัญหาของรัฐบาล โดยให้คณะทำงานโครงการสร้างเครื่องบำบัดฝุ่น PM 2.5 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และกรมควบคุมมลพิษ พัฒนาต่อยอดเป็นงานวิจัยโดยใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่ในประเทศ และใช้หลักการทำงานคือบำบัดอากาศในช่วงความสูงที่ 3 – 5 เมตร ซึ่งเป็นความสูงในระดับที่คนอยู่อาศัย ไม่ต้องบำบัดทั้งหมด โดยจะเดินเครื่องพร้อมกันทั้ง 4 เครื่อง ตั้งแต่พรุ่งนี้ตั้งแต่ 05.00 – 21.00 น. ทุกวัน ไปจนกว่าสถานการณ์ปัญหาฝุ่นขนาดเล็ก PM 2.5 ของจังหวัดเชียงใหม่เข้าสู่สภาวะปกติ

572712

     ด้าน ดร.ธงชัย เมธนาวิน ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ โครงการสร้างเครื่องบำบัดอากาศที่มีมลพิษและฝุ่นขนาดเล็ก PM 2.5 (ต้นแบบ) เปิดเผยว่า ขณะนี้สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และกรมควบคุมมลพิษ ร่วมกันเก็บข้อมูลเพื่อวิจัยและต่อยอดเครื่องบำบัดอากาศฯ ซึ่งได้ใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่ในประเทศ และผลิตโดยช่างไทย โดยใช้งบประมาณไม่เกิน 3 แสนบาทต่อเครื่อง ทั้งนี้ ตั้งเป้าภายใน 2 – 3 ปีนี้ จะพัฒนาให้การทำงานของเครื่องมีประสิทธิภาพการทำงานสูงยิ่งขึ้น เพื่อแก้ปัญหามลพิษของประเทศไทยอย่างยั่งยืนต่อไป

572826
573762
573763
573764
2940462
2940463
2940464
2940465