กรมการแพทย์ โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ เผย “มะเร็งเต้านม” โรคร้ายที่พบมากเป็นอันดับห นึ่งในเพศหญิง แต่ทราบหรือไม่ว่า เพศชายก็มีสิทธิ์เป็นมะเร็ง เต้านมได้เช่นกัน
นายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์และโฆษ กกรมการแพทย์ กล่าวว่า มะเร็งเต้านม แม้ว่าเป็นโรคร้ายที่พบในเพ ศหญิงมากเป็นอันดับหนึ่ง แท้จริงแล้วในเพศชายก็มีควา มเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเต้ านมเช่นกัน จากสถิติพบว่าโดยทั่วไปเพศชา ยมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร ็งเต้านมตลอดอายุขัย อยู่ที่ 1 ใน 1,000 ในประเทศสหรัฐอเมริกาปี 2562 คาดการณ์ว่ามีผู้ป่วยมะเร็ง เต้านมเพศชายรายใหม่ 2,670 คน ซึ่งน้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนผู้ป่วย มะเร็งเต้านมทั้งหมด และในจำนวนนี้เสียชีวิต 500 ราย ในขณะที่เพศหญิงเสียชีวิตจา กมะเร็งเต้านมอยู่ที่ประมาณ 41,760 รายต่อปี โดยอุบัติการณ์ของโรคมะเร็ง เต้านมในเพศชายค่อนข้างคงที ่ในช่วง 30 ปี ในขณะที่อุบัติการณ์ในเพศหญ ิงมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อ เนื่อง โดยพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชา ย ประมาณ 100 เท่า ในเพศชายนั้นพบบ่อยในช่วงอา ยุ 60-70 ปี โดยพบว่าผู้ชายที่เป็นมะเร็ งเต้านมมีอายุเฉลี่ยมากกว่า ผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านม 7-8 ปี
นายแพทย์วีรวุฒิ อิ่มสำราญ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่ งชาติ กล่าวเสริมว่า สถานการณ์มะเร็งเต้านมของคน ไทย ในปี 2557 พบว่ามีผู้ชายป่วยเป็นมะเร็ งเต้านม 162 คน และผู้หญิงป่วยเป็นมะเร็งเต ้านม 14,804 คน โดยปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคม ะเร็งเต้านมมาจากหลายปัจจัย อาทิ เคยได้รับการฉายรังสีบริเวณ หน้าอก มีประวัติมะเร็งเต้านมในครอ บครัว ซึ่งพบว่า 20 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยมีประ วัติมะเร็งเต้านมในครอบครัว โดยจะเป็นญาติทางฝ่ายชายหรื อหญิงก็ได้ ปัจจัยที่เชื่อว่าเป็นสาเหต ุสำคัญของมะเร็งเต้านมในเพศ ชายไม่ต่างจากเพศหญิง นั่นคือการมีระดับฮอร์โมนเพ ศหญิงเอสโตรเจนสูงกว่าปกติ
โดยเฉพาะกลุ่มอาการที่เรียก ว่า กลุ่มอาการคลายน์เฟลเทอร์ ซึ่งมีความผิดปกติของดีเอ็น เอคือมีดีเอ็นเอของเพศหญิงเ พิ่มขึ้นมาตั้งแต่เกิด ทำให้มีระดับฮอร์โมนเอสโตรเ จนสูงและระดับฮอร์โมนเพศชาย ต่ำลง ทำให้มีลักษณะเหมือนเพศหญิง ผู้ชายที่เป็นกลุ่มอาการนี้ จะมีความสูงกว่าค่าเฉลี่ยปก ติ ช่วงไหล่แคบกว่าช่วงเอว มีเต้านมใหญ่ ลูกอัณฑะเล็กและเป็นหมันจาก การไม่มี ตัวอสุจิหรือมีตัวอสุจิน้อย มาก กลุ่มอาการนี้พบได้ไม่บ่อยค ือพบประมาณ 1 ใน 1,000 คน นอกจากนั้นภาวะอื่นๆ ที่ทำให้มีระดับฮอร์โมนเอสโ ตรเจนสูงผิดปกติ เช่น ตับแข็ง ที่ทำให้ผู้ชายนักดื่มมีเต้ านมใหญ่กว่าผู้ชายปกติ เนื่องจากตับเสื่อมสภาพลง ไม่สามารถทำลายฮอร์โมนเอสโต รเจนได้ตามปกติ ส่วนสาเหตุอื่น ๆ เช่น ภาวะอ้วนน้ำหนักเกิน ยาบางตัวที่มีผลข้างเคียงทำ ให้เต้านมใหญ่ขึ้น เช่น ยารักษาความดันโลหิตสูง ยารักษาต่อมลูกหมากโต เป็นต้น
ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่ งชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า อาการที่พบบ่อยที่สุดคือคลำ เจอก้อนที่เต้านม โดยเฉพาะบริเวณ ใต้หัวนม อาการอื่นๆ ก็ไม่แตกต่างจากในเพศหญิง ได้แก่ มีของเหลวออกจากหัวนมเป็นน้ ำปนเลือด หัวนมบอด เต้านมหรือหัวนมแดง หรือมีผื่นหรือแผลเรื้อรังบ ริเวณหัวนม โดยส่วนใหญ่มักมาพบแพทย์ในร ะยะที่เป็นมากแล้ว ส่วนอัตราการรอดชีวิตของผู้ ป่วยชายไม่แตกต่างจากเพศหญิ งแต่อย่างใด ดังนั้น ชายผู้สูงวัยจึงควรใส่ใจสัง เกตความผิดปกติของเต้านมและ ตรวจเต้านมตนเองเป็นประจำ เช่นกัน
Facebook Comments